วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2561

ไหว้หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

  ประวัติของวัดช้างไห้....

วัดช้างไห้ ตั้งอยู่ที่ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์

          เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า 300 ปี ตามตำนานกล่าวว่า พระยาแก้มดำเจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการหาชัยภูมิสำหรับสร้างเมืองใหม่ให้กับน้องสาว จึงได้เสี่ยงอธิฐาน ปล่อยช้างให้ออกเดินทางไปในป่า โดยมีเจ้าเมืองและไพร่พลเดินติดตามไป จนมาถึงวันหนึ่ง ช้างได้หยุดอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง แล้วร้องขึ้นสามครั้ง พระยาแก้มดำจึงได้ถือเป็นนิมิตที่ดี จะใช้บริเวณนั้นสร้างเมือง แต่น้องสาวไม่ชอบ พระยาแก้มคำจึงให้สร้างวัด ณ บริเวณดังกล่าวแทน แล้วให้ชื่อว่า วัดช้างไห้
แล้วนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่ง ที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่านลังกา หรือ สมเด็จพะโคะ หรือ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด คำปรารภของ พระครูวิสัยโสภณ (พระอาจารย์ทิม ธมฺมธโร)

หนังสือตำนานเกี่ยวกับชีวะประวัติของ "หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด"
          ประวัติการสร้างพระเครื่อง และคุณอภินิหารพระเครื่อง สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ได้จัดพิมพ์มาหลายครั้ง และจัดพิมพ์กันเล่มละครั้ง จึงบางเล่มจึงมีข้อความที่ซ้ำกันเป็นบางตอน บางเล่มก็ไม่มีข้อความที่เล่มอื่นมี จึงในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ อาตมาภาพได้ประมวลเหตุการณ์และข้อความทั้งหมดที่กล่าวไว้แล้ว มาจัดพิมพ์รวมเป็นเล่มเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการสะดวกต่อผู้ที่เคารพนับถือ "สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ทุกท่านที่สนใจใคร่จะทราบตำนานชีวประวัติและคุณอภินิหาร พระเครื่องหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด อนึ่งในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ อาตภาพได้คัดสำเนา หนังสือพงศาวดารจากเทศาภิบาล เล่มที่ ๓-๔ ร.ศ. ๑๒๖ สำเนาหนังสือครั้งกรุงเก่า ว่าด้วยการพระราชทานที่กัลปนา และยอเข้าตำราหมื่นตราพระธรรม วิลาศเอาไปวิวาทเป็นหัวเมือง มาลงไว้บางตอน(หนังสือที่อ้างถึงนี้กล่าวไว้เกี่ยวกับหลวงพ่อทั้งนั้น) ฉนั้นจงจัดมาลงไว้แต่ตอนที่เห็นสมควรเท่านั้น เพื่อผู้ที่สนใจได้ศึกษา และในการพิมพ์ก็จัดพิมพ์ตรงตามตัวหนังสือของต้นฉบับเดิมทุกตัวอักษร มิได้เปลี่ยนแปลงประการใด ทั้งนั้นเพื่อเป็นการทรงไว้ซึ่งคุณค่าของ "พระราชพงศาวดาร" อามาภาพขออัญเชิญ ดวงวิญญาณขององค์ "สมเด็จหลวงพ่อทวด" ซึ่งสถิตย์อยู่ ณ ทิพย์สถานพิมานใดจงได้โปรดคุ้มครองป้องกันประเทศชาติให้ปลอดจากสรรพยันตรา ยทั้งปวง และได้โปรดบันดาลความสุขความเจริญให้แก่ทุกๆท่านด้วยเถิด.

(สำเนา)
จากเทศาภิบาลเล่มที่ ๓-๔ ร.ศ. ๑๒๖
          สำเนาหนังสือครั้งกรุงเก่าว่าด้วยการพระราชทานที่กัลปนายอเข้าตำราหมื่นตรา พระธรรมวิลาศเอาไปวิวาทเป็นหัวเมืองแลครั้งเกิดสมเด็จเจ้าพระราชมุนีมีบุญ แลได้พระพุทธศักราช ๙๙๐ ฉลูสัมฤทธิศก เมื่อเกิดแม่นั้นเป็นทรพล เอาไปนาแลผูกเปลไว้ ณ ต้นไม้หว้า แลงูตระบองสลาขึ้นมาอยู่ ณ บนเปลนั้น แลแม่นั้นขึ้นมาจะกินน้ำ แม่นั้นเห็นงูซึ่งขดพันอยู่ ณ บนลูกอ่อนนั้นก็ตระหนกตกใจกลัว จึงร้องเรียกวุ่นวายว่าตาหูเอ้ยๆว่าลูกกูตายแล้ว ว่างูตระบองสลาขึ้นพันอยู่ ณ บนเปล แลจึงตาหูก็แล่นมาดูลูกอ่อนก็ยังเป็นอยู่ แลจึงตาหูนั้นก็ให้ขอข้าวตอกดอกไม้ ให้เอามานมัสการแก่เทพารักษ์ จึงงูนั้นก็เลื้อยไป แลจึงพ่อแม่แลเพื่อนนานั้นก็เข้าไปดูกุมาร ณ เปลนั้น ก็เห็นแก้วใบหนึ่ง จึงพ่อก็เอาไว้สำหรับกุมารนั้นแล้ว อยู่มากุมารนั้นก็ค่อยจำเริญอายุสถาพรแล้ว แลบินำเอาไปบวชไว้ ณ วัดกุฎีหลวงซึ่งสมเด็จพระจวงอยู่นั้น แล้วก็ให้ชื่อเณรปู แลชีต้นก็ร่ำเรียนนโม ก ข แลขอมไท จบแล้วจึงเรียนธรรมบททศชาติ สมเด็จพระชินเสน ณ วัดศรีกูญัง จบธรรมบททศชาติแล้วเป็นช้านาน แล้วเข้าไปเมืองนครศรีธรรมราชนั้น อยู่ร่ำเรียนเป็นหลายปีครบอายุยี่สิบเอ็ด แลพระขุนลกก็รับเอาเจ้าเณรปูไปสู่สำนัก พระมหาเถระปิยทัสสีนั้น เรียนว่าจะบวชเจ้าเณรปูเป็นภิกขุ แลจึงพระมหาเถระนั้นก็คิดด้วยสงฆ์ในอาราม ว่าพัทธสิมา อุทกสิมา หามิได้ แลจึงให้พระขุนลกจัดหาเรือมาดตะเคียนลำ ๑ มาด พยอมลำ ๑ มาด ยางลำ ๑ มาด เอามาขนาน ณ คลองหน้าท่าเรือแล้ว และพระขุนลกแลญาติพี่น้องก็แต่งสบงจีวรครบด้วยธูปเทียนแล้วเจ้าเณรปูไปสู่ พระมหาเถรปิยทัสสีเป็นอุปัชฌาย์จารย์ แลพระมหาเถรพุทธสาครเป็นกรรมวาจา แลพระมหาเถรศรีรัตนเป็นอนุ แลบวชเจ้าเณรปูเป็นภิกขุแล้ว จึงพระมหาปิยทัสสีก็ให้นามชื่อเจ้าสามิราม แล้วให้อยู่ตามกิจสงฆ์และร่ำเรียนธรรมสืบไปเป็นช้านาน แลยังมีเรือเจ้าสเภาอินจะเข้าไปเมืองกรุงเทพมหานคร จึงเจ้าสามิรามไปถามเจ้าสเภาอินว่าจะโดยสารเรือเข้าไปด้วย จึงเจ้าสเภาอินก็ถามว่าซึ่งเจ้าสามิจะไปนี้ประสงค์แก่อันใด แลบาทเจ้าว่าจะไปเรียนธรรมแลเจ้าสเภาอินก็โมทนาขอนิมนต์พระเจ้าไป และจึงเจ้าสามิรามก็กลับมาลาชีต้นทั้งสามองค์นั้น แล้วก็ไปด้วยเจ้าสเภาๆก็ใช้ใบเรือไปแล ครั้งถึงกลางทะเลเป็นปัจจุบันกาล เรือนั้นก็ต้องพายุ แลครั้นสงบพายุใหญ่เจ็ดวันเจ็ดคืนจึงเจ้าสเภาก็ขึ้งโกรธว่าเอาตาชีนี้มาจึง เรือต้องพยุ แลครั้งสงบพยุแล้วจึงเจ้าสามิก็ลงไป ณ เรือสัดจอง จึงเอาเท้าข้างซ้ายเป็นทู่นั้นแช่ลง ณ น้ำ ๆนั้นก็จืด แลจึงสามิก็อาบน้ำนั้น จึงเจ้าสเภาก็ถามว่าลงอาบน้ำนั้นเค็มหรือจืด จึงบาทเจ้าก็ว่าจืด แลบาทเจ้าก็เอากะบวยตักน้ำมายื่นให้แก่เจ้าสเภา จึงเจ้าสเภาก็รับเอาชิมดูน้ำนั้นก็จืด แลเจ้าสเภาก็ให้ลูกเรือทั้งนั้นตักใส่โอ่งฉางอ่างตุ่มแล้ว จึงเจ้าสเภาก็ยินดีเอาเป็นชีต้น ปฏิบัติรักษาแล้วก็ใช้เรือไป

          ครั้งเมื่อไปถึงเมืองศรีอยุธยา จึงเจ้าสเภาก็ไปถามให้อาไศรย ณ วัดแค แลเจ้าสามิก็อาไศรยอยู่ที่นั้น แลเจ้าสเภาอินจะกลับมาเมืองนคร จึงเจ้าสเภอินก็เอาอ้ายจันผู้ทาษค่าเป็นเงินสองตำลึงไว้ให้รักษาบาทเจ้าสามิ ราม แลเจ้าสเภาก็กลับมาเมืองนครแลจึงบาทเจ้าก็ไปมาเรียนธรรม ณ วัดลุมพลีนาวาศช้านาน แลอยู่มามีประเทศเอาพระธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์เขียนใส่แผ่นทองเท่าใบมะขาม ใส่หม้อ เอามาทายเปนปฤษณาให้แปลก็แปลได้ไซ้จะถวายสิ่งของทั้งลำสเภานั้นแล จึงมีพระบรมราชโองการตรัสสั่งชุมนุมสงฆ์ทั้งหลาย ทั้งเมืองกรุงศรีอยุธยานั้นแล จึงพระสงฆ์เจ้าทั้งหลาย ก็ไปชุมนุมตามมีพระราชโองการตรัสสั่งนั้นแล จึงประเทศเอาพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์มาประดับอักษรนั้นแล พระสงฆ์ทั้งหลายประดับมิได้ จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งแก่ ขุนศรีทนนไชย ให้ป่าวพระสงฆ์อันมาแต่เมืองนอกขอบขัณฑเสมาประจันตประเทศ จึงสงฆ์ทั้งปวงอันมาแต่เมืองข้างนอกทั้งนั้นให้สิ้นเสร็จ จึงขุนศรีทนนไชยก็ไปนิมนต์พระรามเข้าไป ณ ที่ชุมนุม จึงสัปรุษย์จันตักน้ำมาล้างตีนบาทเจ้าพระรามก็เห็นเป็นผิดประหลาด ซึ่งเหยียบศิลาอันลุ่ม จึงสัปรุษย์จันก็เอาด้ายเจาะชายจีวรแล้ว แลขุนศรีทนนไชยก็ว่า ผายๆกูจะเอาพระรามเข้าไป แลพระรามก็คลานเข้าไปถึงอาจารย์ จึงพระรามก็นั่งลงแล้วก็ไหว้อาจารย์ จึงราชทูตทั้ง ๗คนก็ว่าเอาเด็กสอนคลานมาให้แก้ปฤษณา จึงพระรามก็บอกแก่อาจารย์ว่าให้กรมการกฏหมายไว้ แล้วพระรามก็ว่าแก้คำราชทูต ว่ากุมารเมื่อออกแต่ครรภ์พระมารดกี่เดือนกี่วันจึงรู้คว่ำ กี่เดือนกี่วันจึงรู้นั่ง กี่เดือนกี่วันจึงรู้คลาน จึงผู้รู้หลักทั้งนั้นว่าเราจะแก้มิได้จึงบาทเจ้าราม ก็ถามราชทูตว่า รู้คว่ำแก่ หรือว่ารู้นั่งแก่หรือจะว่ารู้คลานแก่ จึงราชทูตก็ว่าแก้คำพระรามนั้นมิได้ ก็แพ้พระรามนั้นแล จึงพระบรมพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ให้เอาเตียงทองมารองรับ ให้ราชทูตเอาอักษรพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์มากองเป็นเจ็ดกอง จึงพระรามก็ผุดลุกขึ้นทำวัตรแก่พระธรรมนั้น จึงพระรามก็เอาอักษรมาประดับ จึงให้เป็นท่องแถวแนวทั้งเจ็ดคัมภีร์ จึงพระรามนักปราชว่ายังขาดอักษรเจ็ดตัวจะครบ จึงราชทูตก็ว่ามีแต่เท่านั้นแล พระรามก็ว่าแก่ราชทูตให้ทำทานบนเข้าต่อกันเล่า ราชทูตมิสู้ทำแลจึงราชทูตก็ถามว่ายังขาดตัวใด จึงพระรามก็ว่าสังตัวหนึ่ง ตัววิตัวหนึ่ง ตัวทาตัวหนึ่ง ปุตัวหนึ่ง กะตัวหนึ่ง ญะตัวหนึ่ง จึงราชทูตก็เอาอักษรทั้งเจ็ดตัวออกมาแต่มวยผมมหาพราหมณ์ มายื่นให้แก่พระราม แล้วราชทูตก็ขอแพ้แก่พระรามเป็นสองท่า จึงราชทูตก็กราบไหว้นมัสการแก่พระราม แล้วก็ยกเอาเครื่องสิ่งของ ณ สเภาซึ่งราชทูตเอามานั้น ถวายแก่บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวแล้วก็ให้ปลูกกุฎีถวายแก่พระรามนักปราช แล้วถวายเมืองท่อนหนึ่ง พระรามก็รับครองแต่สามวัน แล้วก็คืนให้แก่บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวเล่า ให้คงอยู่ตามเก่านั้น จึงพระรามก็คิดด้วยขุนศรีทนนไชยแลกรมการ สิ่งใดซึ่งยากแค้นแก่ไพร่แผ่นดิน แลขุนศรีทนนไชยก็นิมนต์พระรามเข้าไปในวัง ถวายพระพรพระราชกุศลแก่บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการตรัสถามพระ รามนักปราช ว่าเข้ามานี้ประสงค์แก่อันใด จึงพระรามนักปราชขอพระราชทาน ข้าส่วยหลวง ซึ่งยากแค้น แล้วเห็นวัดราชประดิษฐาน จะขอพระราชทานสร้างพระอาราม อย่าให้เอาส่วยหลวงเข้าในพระคลังแต่นี้ไปเมื่อน่า จึงมีพระราชทานโปรดให้ แลตรัสใช้นายสามจอมแลขุนอินปัญญาออกไป เอาสารบาญชีเบิกค่าส่วยไว้ให้เป็นค่าพระตาม ซึ่งพระรามนักปราชขอพระราชทานนั้น จึงนายสามจอมและขุนอินปัญญาก็เอาสารบาญชีเข้าไปทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวายเป็นข้าพระนั้น ๓๐๐ หัวงานพิเสศ ผูกไว้ให้เป็นข้าพระศรีรัตนมหาธาตุในวัดพระราชประดิษฐาน จึงมีพระบรมราชโองการตรัสให้ขุนศรีทนนไชย ให้นิมนต์พระรามนักปราชเข้าไปในพระราชวัง จึงมีพระราชโองการศรัทธาให้ทำเป็นพระกัลปนาอุทิศไว้ยกญาติโยม บ่าวไพร่ไร่นาดินป่าบูชาธรรมเทศนา ให้แก่พระรามนักปราชแล้ว แลมีพระราชโองการตรัสว่า เราจะกรวดน้ำคณที เงินทองเห็นว่ามิแตก จึงตรัสให้เอาคณทีกระเบื้องให้แตกที่เดียว แล้วแลมีพระราชโองการสาบาลไว้ว่า ถ้าผู้ใดแลลเมิดพระบัณฑูรเบียดเบียนข้าพระคนทานไปใช้ให้ผู้นั้นไปตกนรกหมก ไหม้ ได้ทุกขนิรันดร์อย่าได้ทันพระพุทธ พระธรรม์ พระจันทร์ พระอาทิตย์ แลพระสงฆเจ้าสักชาติ อย่ารู้คลาศอปราไชยในชั่วนี้ชั่วหน้า ต้องสัจจาธิษฐานพระมหากระษัตรย์เจ้าสาบาลไว้ทั้ง ๕๐๐๐ พระพรรษา แต่นี้เมื่อน่า แลในท้องพระตำรานั้น ให้ห้ามเจ้าพระยาแลออกยาสัสสดีเมืองนครพระยาแลสัสดีเมืองพัทลุงอย่าให้ใช้ ข้าพระ ณ วัดพระราชประดิษฐาน ลงเรือรบเรือไล่รักษาค่ายตัดหนังวังช้างส่งข่าวแลลงพ่วงลงรอ แลงานสรรพมาตราทั้งปวง งวดคราวสารพิไสย ก็โคกระบือทอดพริกทอดฝายทำนาที่ใต้กำแพงเมือง ทำรั้วทำเรือนเจ้าเมืองแลข้าหลวง อย่าให้เบียดเอาค่าน้ำค่านา อากรขนอนตลาดหัวป่าค่าที่เชิงเรือน เก็บเรือแลเครื่องเรืองานสรรพมาตราแต่สิ่งหนึ่งสิ่งใด แลให้คงอยู่ตามพระตำราพระราชอุทิศไว้นั้นแลพระรามนักปราชให้พระมหาเถรศรีผู้ น้อง คุมสมุหบัญชีหัวงานข้าพระ ซึ่งพระราชอุทิศให้ไว้เป็นข้าพระแบให้รักษาวัดพระราชประดิษฐานแลทำพระมาลิ กเจดีย์ ณ วัดพระราชประดิษฐานนั้น สูงเส้นห้าวามีเลศ แลมีพระห้องรอบตามราชจำนงแต่ครั้งองค์พระเจ้ารามาธิบดีเสวยราชสมบัติ พระราชทานให้ข้าหลวงจ่าพรหมานออกมาบำรุงช่วยพระมหาเถรศรีผู้น้องพระรามนัก ปราชนั้น ให้ข้าหลวงแต่งสเภาปากสามวาศอก บรรทุกอิฐแลยอดพระมาลิกเจดีย์ พระมหาธาตุออกมาแต่เมืองศรีอยุธยา แลให้นายจัน พี่สมเด็จเจ้าพระรามนักปราชถือยอดพระ ซึ่งหล่อด้วยเบญจโลห ยามสามวาสามคืบ แลยอดพระนั้นมีพระราชทานโปรดแต่งให้ออกมาแต่พระราชมณเฑียร แลเครื่องประดับประดายอดพระนั้น พระราชทานแต่งออกมาแต่คลังหลวง แลซึ่งพระราชทานไว้ให้เป็นข้าคนทานรักษาสืบๆกันไปแต่นี้เมื่อน่าไว้รักษาพระ ศรีรัตนมหาธาตุ ๕๐ รักษาพระธรรม ศาลา ๒๐ รักษาอุโบสถ ๒๐ แต่นี้ไปเมื่อน่า.

ความเป็นมาของ
วัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างให้)
หมู่ที่ ๒ ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
*************************
          วัดช้างให้ มีชื่อเต็ม ๆ ว่า วัดราษฎร์บูรณะ อยู่ที่ ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ห่างจากปัตตานีประมาณ 26 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 1,032 กิโลเมตร ไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๐ ตามพระราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๗๔ ตอน ๑๕ หน้า ๔๕๑ - ๒๕๒ เขตวิสุงคามสีมายาว ๘๐ เมตร กว้าง ๔๐ เมตร ทำพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ วันเสาร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ ตรงกับวันขึ้น ๑๓ ค่ำ มีที่ดินที่ตั้งวัดเป็นเนื้อที่จำนวน ๑๒ ไร่ ตามหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ค. ๑ เลขที่ ๓๓๔/๒๔๙๘
ในหนังสือหลวงพ่อทวดคำกลอนของ สมพงษ์ หนูรักษ์ว่า กล่าวว่า
๑. ท่านลังกา องค์ท่านดำ ไม่ทราบชื่อเดิม ภูมิลำเนาเดิมที่ใดเป็นเพียงขนานนาม
๒. หลวงพ่อสี ไม่มีประวัติ
๓. หลวงพ่อทอง ไม่มีประวัติ
๔. หลวงพ่อจันทร์ ไม่มีประวัติ
๕. หลวงพ่อทิม (อาจารย์ทิม ธมฺมธโร) หรือพระครูวิสัยโสภณ ๑ ตำนานที่เล่าขานสืบต่อมาจากคนเฒ่าคนแก่บอกว่าวัดช้างให้หมายความว่าที่ดิน วัดนี้ ช้างบอกให้ เป็นวัดโบราณแห่งหนึ่ง มีอายุประมาณ ๔๐๐ กว่าปี มีเจ้าอาวาสปกครองวัดดังนี้
๑. สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ไม่สามารถระบุปีพุทธศักราชได้
๒. พระช่วง พ.ศ. ๒๔๘๐ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๓
๓. พระครูวิสัยโสภณ (ทิม ธมฺมธโร) พ.ศ. ๒๔๘๓ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๒
๔. พระครูใบฎีกาขาว ธมฺมรกฺขิโต พ.ศ. ๒๕๑๓ ถึง พ.ศ. ๒๕๒๑
๕. พระไพศาลสิริวัฒน์ (สวัสดิ์ อรุโณ) พ.ศ. ๒๕๒๑ ถึง ๒๕๔๓
๖. พระครูปริยัติกิจโสภณ (สายันต์ จนฺทสโร) พ.ศ. ๒๕๔๓ ถึงปัจจุบัน
          ช่วงระยะเวลาที่สิ้นสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดไปแล้วนั้น ไม่มีตำนานและบันทึกรายนามเจ้าอาวาส และเมื่อเข้าถึงยุคสมัยปัจจุบันตั้งแต่พระช่วง เข้ามาแผ้วถางใน พ.ศ. ๒๔๘๐ นั้นสถานที่แห่งนี้เป็นเพียงป่ารกร้างมีต้นไม้ใหญ่อยู่หลายต้นปัจจุบันก็ไม่ มีให้เห็นแล้วคงมีแต่ต้นไม้ต้นหนึ่งที่อยู่บริเวณด้านข้างของศาลาการเปรียญ ซึ่งชาวบ้านในบริเวณนี้บอกว่าเป็นต้นไม่เก่าแก่ประจำวัดต้นหนึ่งที่เหลือให้ เห็น และวัดนี้สร้างขึ้นเมื่อใด ? และใครเป็นคนสร้างครั้งแรกนั้นก็ยังหาหลักฐานที่แน่นอนไม่ได้ แต่พอจะจับเค้าความได้ตามหนังสือตำนานเมือง ปัตตานี และเรื่องอื่นๆได้บ้าง ตามหนังสือตำนานเมืองปัตตานีนั้น พระศรีบุรีรัฐพิพิธ (สิทธิ์ ณ สงขลา)ได้รวบรวมไว้ ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า ๒"สมัยนั้น พระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรี ปรารถนาจะหาที่ชัยภูมิที่ดีสร้างเมืองให้ เจ๊ะสิตี (ผู้ซึ่งเป็น)น้องสาวครอบครอง เมื่อโหรหาฤกษ์ยามได้เวลาท่านเจ้าเมืองก็เสี่ยงสัตย์อธิษฐานปล่อยช้างตัว สำคัญคู่บ้านคู่เมืองออกเดินป่าหรือเรียกว่า ช้างอุปการ เพื่อหาชัยภูมิดีสร้างเมือง ท่านเจ้าเมืองก็ยกพลบริวารเดินตามหลังช้างนั้นไปเป็นเวลาหลายวัน วันหนึ่งช้างได้เดินไปหยุดอยู่ ณ ที่ป่าแห่งหนึ่ง (ที่วัดช้างให้เวลานี้) แล้วเดินวนเวียนร้องขึ้น ๓ ครั้ง พระยาแก้มดำ ถืเป็นนิมิตที่ดีที่จะสร้างเมือง ณ ที่ตรงนี้ แต่น้องสาวตรวจดูแล้วไม่พอใจ พี่ชายก็อธิษฐานให้ช้างเดินหาที่ใหม่ต่อไป ช้างได้เดินรอนแรมอีกหลายวัน เวลาตกเย็นวันหนึ่ง ก็หยุดพักพลบริวาร ทางน้องสาวถือโอกาสออกจากที่พักเดินเล่น บังเอิญขณะนั้นมีกระจงสีขาวผ่องตัวหนึ่งวิ่งผ่านหน้านางไป นางอยากได้กระจงตัวขาวตัวนั้น จึงชวนพวกพี่เลี้ยงวิ่งไล่ล้อมจับกระจง กระจงได้วิ่งวกไปวนมาบนเนินทรายขาวสะอาดริมทะเล(ที่ตำบลกรือเซะเวลานี้) ทันใดนั้นกระจงก็หายไป นางเจ๊ะสิตีรู้สึกชอบที่ตรงนี้มาก จึงขอให้พี่ชายสร้างเมืองให้ เมื่อพระยาแก้มดำปลูกสร้างเมืองให้น้องสาวและมอบพลบริวารให้ไว้พอสมควรเรียบ ร้อยแล้วก็ให้ชื่อเมืองนี้ว่า เมืองปะตานี (ปัตตานี) ขณะนั้นพระยาแก้มดำเดินทางกลับมาถึงภูมิประเทศที่ช้างบอกให้ครั้งแรกก็ รู้สึกเสียดายสถานที่ จึงตกลงใจหยุดพักแรมทำการแผ้วถางป่า และปลูกสรางขึ้นเป็นวัดให้ชื่อว่า วัดช้างให้ มาจนบัดนี้ หลังจากสร้างวัดเรียบร้อยแล้ว เจ้าเมืองไทรบุรีได้ทูลสมเด็จหลวงปู่ทวดจากเมืองไทรบุรีมาเป็นเจ้าอาวาสองค์ แรกของวัดช้างให้ สมเด็จหลวงปู่ทวดนี้ชาวเมืองไทรบุรีเรียกนามท่านว่า ท่านลังกา สมัยโบราณกาลมานั้น คนมลายูนับถือศาสนาพุทธ พระยาแก้มดำคนมลายูจึงได้สร้างวัดช้างให้ขึ้น จึงขออ้างหนังสือของ พระยารัตนภักดี ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือเรืองปัญหาดินแดนไทยกับมลายูซึ่งท่านพิมพ์แจกในงาน กุศล หน้า ๘ บรรทัด ๑๘ในหนังสือนั้น กล่าวอ้างตามประวัติศาสตร์ไว้ว่า"พ.ศ. ๑๓๐๐ กษัตริย์ครองกรุงศรีวิชัยแห่งปาเล็มบังมีอานุภาพแผ่อาณาเขตเข้ามาถึงแหลม มลายูและได้ก่อสรางปูชนีย์ทางพระพุทธศาสนาไว้หลายแห่งซึ่งยังปรากฏอยู่บัด นี้ ตามประวัติศาสตร์มลายูกล่าวว่ามีผู้พบศิลาจารึกแผ่นหนึ่งที่นครศณีธรรมราช จารึกว่า เมื่อ พ.ศ. ๑๓๑๘ เจ้าเมืองศรีวิชัยได้มาก่อพระเจดีย์องค์หนึ่งที่นครศรีธรรมราชและที่สำคัญ ทางพระพุทธศาสนาอีกแห่งหนึ่งเกี่ยวกับโบราณวัตถุคือ พระพุทธไสยาสน์ในถ้ำแห่งภูเขา (วัดหน้าถ้ำ) ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา คาดคะเนว่าได้สร้างในสมัยกรุงศรีวิชัย ระหว่าง พ.ศ. ๑๓๑๘ - ๑๔๐๐ ต่อมาได้ปฏิสังขรณ์เพิ่มเติม ซึ่งคงปรากฏอยู่กระทั่งบัดนี้ องค์พระยาวถึง ๘๑ ฟุต ๑ นิ้ว ขนาดใหญ่วัดโดยรอบองค์พระ ๓๕ ฟุตและตามตำนานของพระศรีบุรีรัฐกล่าวไว้ว่า สมัยหลายร้อยปีมาแล้ว คนมลายูนับถือศาสนาพุทธ แต่ได้มาเปลี่ยนนับถือศาสนาอิสลามภายหลัง"
          ตามที่ได้อ้างตำนานของท่านทั้งสองมานี้ พอจะสรุปได้ว่า วัดช้างให้นี้สร้างมานานไม่น้อยกว่า ๓๐๐ปี "หลวงพ่อทวด" เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดช้างให้ก็มีประวัติสลับซับซ้อนเกี่ยวกับเมืองไทรบุรี อยู่มาก ทางเมืองไทรบุรีเรียกว่า "ท่านลังกา" ท่านเดินไปมาระหว่างวัดช้างให้กับไทรบุรีอยู่เสมอ เดินทางแบบธุดงค์ ท่านกล่าวว่า ขณะที่ท่านเดินทางนั้นสถานที่ใดเหมาะก็พักแรมหาความวิเวก เพื่อทำสมาธิภาวนา ใช้เวลาพักนานๆเช่น ภูเขาถ้ำตลอด อำเภอสะบ้าย้อย ก็ปรากฏว่ามีสิ่งที่ควรเชื่อถือได้ว่า ท่นเป็นผู้ทำไว้ จากนั้นก็ปรากฏอยู่บนเพิงหินบนภูเขา ตังเกียบ เทือกภูเขาน้ำตกทรายขาว ทางทิศตะวันออกของลำธารน้ำตกมีพระพุทธรูปแกะด้วยไม้ตำเสาแบบพระยืนสององค์ ชาวบ้านตำบลทรายขาวเรียกพระพุทธรูปนี้ว่า "หลวงพื่อตังเกียบเหยียบน้ำทะเลจืด" คาดคะเนกันว่าพระพุทธรูป ๒ องค์ ท่านลังกาหรือหลวงพ่อทวดเป็นผู้สร้างสมัยเดินทางและอาศัยพักอยู่ หลวงพ่อสององค์นี้เล่าลือกันว่า ศักดิ์สิทธิ์นักและเป็นที่สักการะบูชาของชาวบ้านในถิ่นนั้นมาจนบัดนี้
          สมเด็จหลวงพ่อทวดปรากฏว่าท่านมรณภาพที่แปะระ มาเลเซีย คือรัฐแประเวลานี้ และได้นำศพกลับมาวัดช้างให้ปัตตานี การนำศพกลับมาต้องพักแรมตามระหว่างทางเป็นเวลาหลายวันกว่าจะถึงวัดช้างให้ เมื่อตั้งศพพักแรม ณ สถานที่ใด ที่นั้นก็เอาไม้แก่นปักหมายไว้ทุกๆแห่งเป็นระยะๆ จนกระทั่งถึงวัดช้างให้ สถานที่ตั้งศพพักแรมตามระหว่างทางนี้กลายเป็นสถานที่สักการะเคารพของคนใน ถิ่นนั้นและถือเป็นสถานที่ศํกดิ์สิทธิ์สำคัญมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ และมีผู้คนไปกราบไว้บนบานอยู่เสมอ บางแห่งก่อเป็นเจดีย์ไว้ บางแห่งก่อเป็นสถูปไว้เป็นเครื่องสักการะบูชา
          เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ พระครูวิสัยโสภณและคณะได้เดินทางไปบูชามาแล้วทุกสถานที่ แต่ละแห่งแต่ละสถานที่ก็มีสภาพเหมือนกับสถูปที่บรรจุอัฐิหลวงพ่อทวดที่วัด ช้างให้ เมื่อครั้งยังไม่ได้ตบแต่งสร้างขึ้นใหม่ และได้สอบถามชาวบ้านในสถานที่นั้นต่างก็บอกเล่าให้ฟังว่า เป็นสถานที่ตั้งศพ "หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" เมื่อนำศพมาพักแรมที่นี้ มีน้ำเหลืองไหลตกลงพื้นดินก็ทำเครื่องหมายไว้ บางแห่งก็ก่อเป็นรูปเจดีย์ก็มี บางแห่งมีไม้แก่นปักไว้แล้วพูนดินให้สูงขึ้นถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ประจำบ้านประจำเมือง บางแห่งเรียกว่า "สถูปลังกา" บางแห่งเรียกว่า "สถูปหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" เช่นเดียวกับที่เรียกสถูปที่วัดช้างให้ ซึ่งตรงกับประวัติตำนานเมืองปัตตานีที่ "คุณพระศรีบุรีรัฐพิพิธ" เขียนเอาไว้ ดังนั้นวัดช้างให้หากจะถือตามประวัติตำนานเมืองปัตตานีก็คงจะสร้างมาหลาย ร้อยปีแล้ว สร้างมาเมื่อใด ใครเป็นคนสร้างพูดไปเท่าไรๆก็ไม่จบ สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือ วัดช้างให้เป็นวัดร้างมาก่อน ถูกทอดทิ้งมาเป็นเวลานานแล้ว ได้สอบถามคนเฒ่าคนแก่มามากต่อมากแล้วก็ได้รับคำตอบว่า เท่าที่จำได้ก็เป็นวัดร้าง และคนเฒ่าคนแก่รุ่นก่อนๆก็ได้บอกเล่าต่อๆกันมาว่าเป็นวัดร้าง มีวิ่งที่ปรากฏแสดงให้แน่ใจว่าเคยเป็นวัดมาก่อนคือ ศิลาก้อนใหญ่ปักอยู่ ๔ ทิศในท่ามกลางวัดร้าง ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นเครื่องหมายลูกนิมิตบอกให้รู้ว่าที่ตรงนี้เป็นเขตพัทธสีมาและคนเฒ่าคน แก่ก็เล่าต่อๆกันมาว่า เป็นที่โบสถ์เก่าเครื่องหมายที่ใช้ศิลาเป็นิมิตก็ยังปรากฏอยู่จนบัดนี้ ยังไม่มีผู้ใดกล้าทำลายหรือรื้อถอนแต่อย่างใด ส่วนสถูปศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุอัฐิหลวงปู่ทวดนั้นก็อยู่ใกล้ๆกับเขตพัทธสีมา ติดกับทางรถไฟ ชาวบ้านพื้นเมืองเรียกว่า "เขื่อนหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" หรือ "เขื่อนท่านเหยียบน้ำทะเลจืด" (คำว่า เขื่อน เป็นภาษาคนพื้นเมืองทางใต้ ที่แท้ก็คือสถูปที่บรรจุอัฐิของท่านผู้มีบุญนั่นเอง) ที่สถูปแห่งนี้ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวจังหวัดปัตตานีและใกล้เคียง มีไม้แก่นปักเป็นหลักอยู่บนเนินสูงมีบริเวณกว้างพอสมควร มีผู้คนไปกราบไหว้บนบานอยู่เนืองนิจ ใครเจ็บไข้ได้ป่วยหรือวัตถุสิ่งของถูกขโมยหรือศูนย์หายก็พากันไปบนบาน ณ ที่สถูปแห่งนี้
          เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ พระครูมนูญสมณการ วัดพลานุภาพ ได้ชักชวนชาวยฃบ้านช้างให้และใกล้เคียงไปทำการแผ้วถางวัดร้างแห่งนี้ โดยจัดบูรณะให้เป็นวัดมีพระสงฆ์เข้าอยู่จำพรรษาและในปีนั้นเองได้ให้ พระภิกษุช่วง วัดพลานุภาพพร้อมพระอนุจรมาอยู่จำพรรษา พระภิกษุช่วงมาอยู่ก็ได้จัดการสร้างถาวรวัตถุขึ้น คือ ศาลาการเปรียญและกุฏิ ๒ -๓ หลัง
ครั้นต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ พระภิกษุช่วงก็ได้ลาสิกขา วัดช้างให้จึงขาดเจ้าอาวาสและผู้นำลง นายบุญจันทร์ อินทกาศ กำนันตำบลป่าไร่ในสมัยนั้นพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกาวัดช้างให้ ได้พากันไปหาพระอธิการแดง ธมฺมโชโต (พระครูภัทรกรณ์โกวิท) เจ้าอาวาสวัดนาประดู่ ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ใกล้กับวัดช้างให้ขอให้ท่านจัดพระที่มีอายุพรรษาพอสมควร ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้ พระครูภัทรกรณ์โกวิทจึงได้ให้พระภิกษุทิม ธมฺมธโร (พระครูวิสัยโสภณ) ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้ตามที่ชาวบ้านขอมา
          พระภิกษุทิม ธมฺมธโร (พระครูวิสัยโสภณ)ได้ย้ายไปอยู่วัดช้างให้เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ตรงกับวันอังคารขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ รุ่งขึ้นเป็นวันเข้าปุริมพรรษา พระภิกษุทิมมาอยู่วัดช้างให้ในตอนแรกๆก็ไปๆมาๆอยู่กับวัดนาประดู่ กลางวันต้องกลับไปสอนนักธรรมวัดนาประดู่เพราะท่านเป็นครูสอนนักธรรมประจำ สำนักวัดนาประดู่อยู่และกำลังทำการก่อสร้างกูฏิอยู่ที่วัดนาประดู่ยังไม่ เรียบร้อยด้วยพระภิกษุทิม มาอยู่วัดช้างให้ได้ประมาณ ๕ - ๖ เดือน ก็เกิดสงครามทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นเมืองไทยผ่านไปประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์จน กลายเป็นสงครามโลก รถไฟสายใต้วิ่งจากหาดใหญ่ไปสถานีสุไหงโก-ลก ชายแดน ขนทหารและสัมภาระผ่านหน้าวัดช้างให้วันละหลายๆเที่ยวหลายขบวนประชาชนพากัน แตกตื่นหวาดกลัวภัยสงครามไม่เป็นอันทำมาหากิน วัดช้างให้ก็อยู่ในสภาพเดิมยังมิได้บูรณะจัดการก่อสร้างสิ่งใดแม้แต่น้อย การไปมาหาสู่กันในระหว่างสงครามเป็นการลำบากยิ่ง หนทางใกล้ทำให้ไกล หนทางไกลไปไม่ถึง ยวดยานต่างๆก็ตกอยู่ในกำมือของทหารหมด ผู้คนที่พลัดพรากจากกันในระยะต้นสงครามที่มีความห่วงใยซึ่งกันและกัน หากจะติดต่อกันหรือไปเยี่ยมเยียนก็ต้องเดินเท้า วัดช้างให้ซึ่งตั้งติดอยู่กับทางรถไฟเป็นทางผ่านไปยังจังหวัดยะลา นราธิวาส และชายแดนมาเลเซีย พระภิกษุทิม เจ้าอาวาสวัดช้างให้ต้องรับภาระหนักต้องจัดหาที่พักหาอาหารมาเลี้ยงดูผู้คน ที่มาขอพักอาศัยพักแรมในระหว่างเดินทางไม่เว้นแต่ละวัน ข้อนี้นับว่าเป็นคุณธรรมประการหนึ่งของพระภิกษุทิม ที่มีน้ำใจเผื่อแผ่และเมตตามาตั้งแต่แรกจนกระทั่งถึงอวสานของชีวิต หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลงแล้ว พระครูวิสัยโสภณได้เริ่มดัดแปลงแก้ไขทำการก่อสร้างถาวรวัตถุไว้มากจนเป็นวัด ที่มีหลักฐานมั่นคงวัดหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ถาวรวัตถุที่ท่านสร้างไว้คือ ศาลาการเปรียญ อุโบสถ หอฉัน หอระฆัง กุฏิที่พักสงฆ์ที่มาจากที่อื่น กุฏิที่อยู่ของพระภิกษุสามเณร ๘ หลัง กุฏิเจ้าอาวาส วิหารเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงพ่อทวด สถูปบรรจุอัฐิหลวงพ่อทวด กำแพงวัด ซื้อที่ดินขยายอาณาเขตของวัดไปทางทิศตะวันตก และซื้อที่ดินตรงข้ามกับวัดซึ่งตั้งอยู่คนละฟากทางรถไฟ โดยจัดการสร้างอาคารเรียนเป็นตัวตึก ๒ ชั้น กว้าง ๙.๐๐ เมตร ยาว ๕๔.๐๐ เมตร หลังคาทรงไทยมุงกระเบื้องเคลือบดินเผา ราคาค่าก่อสร้าง ๑ ล้านบาทเศษและได้มอบให้กับทางราชการเพื่อเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของกุลบุตร กุลธิดาต่อไป เรียกว่า "โรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" นอกจากนี้ยังได้จัดสร้างถาวรวัตถุอื่นๆอีกหลายอย่าง ราคานับเป็นล้านๆเฉพาะสถูปบรรจุอัฐิหลวงพ่อทวดนั้น พระครูวิสัยโสภณ และพระครูธรรมกิจโกศล (นอง ธมฺมภูโต) เจ้าอาวาสวัดทรายขาวในขณะนั้น ได้ปรึกษาหารือกัน ตกลงให้ขุดรื้อของเก่าขึ้นเพื่อสร้างใหม่ แต่เมื่อขุดลงไปก็ได้พบหม้อทองเหลืองและมีอัฐิหลวงพ่อทวดห่อผ้าอยู่ในหม้อ ทองเหลืองอีกชั้นหนึ่ง หม้อทองเหลืองและอัฐิได้ผุเปื่อยไม่กล้าเอามือไปจับต้อง เกรงว่าจะผิดไปจากสภาพเดิม จึงได้จัดการสร้างสถูปสวมครอบลงบนสถูปเดิมซึ่งปรากฏอยู่ข้างทางรถไฟเวลา นี้."
วัดร้างแต่ละครั้งแต่ละหนเป็นเวลาห่างกันนานๆ ตั้งสิบกว่าปีหรือบางครั้งถึงร้อยปีก็มีในปี พ.ศ.2484 พระครูวิสัยโสภณ หรือในที่รู้จักกันในนาม ท่านอาจารย์ทิม ธมมธโร ได้เข้ามาครอบครองเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 5 ได้ทำการบูรณะวัดต่อเติมจนเรียบร้อย ทำให้วัดช้างให้สะอาดสะอ้านขึ้นมาก ทางด้านสถูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบรรจุอัฐิของหลวงพ่อทวด ประดิษฐานอยู่ที่หน้าวัด เป็นที่จูงใจประชาชนหลายชาติหลายภาษาได้มาเคารพบูชาเป็นจำนวนมากทุกวัน เนื่องจากทราบกิตติศัพท์ในอดีตสมัยที่หลวงพ่อทวดเดินทางไปยังกรุงศรีอยุธยา ด้วยเรือสำเภา ระหว่างทางได้เกิดพายุพัดจนกระทั่งข้าวปลาอาหารและน้ำดื่มตกลงทะเลไป ลูกเรือกระหายน้ำมาก หลวงพ่อทวดจึงได้แสดงอภินิหารหย่อนเท้าลงไปในทะเล ปรากฏว่าน้ำทะเลในบริเวณนั้นกลายเป็นน้ำจืดและดื่มกินได้ ตั้งแต่นั้นมาชื่อเสียงของท่านขจรขจายไปทั่วหล้า คนได้มาทำการสักการะจนท่านอาจารย์ทิมดำริจะสร้างอุโบสถไว้ เพื่อเป็นหลักใหญ่ในพระพุทธศาสนาและจะได้เป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสงฆ์ใน วัดได้มาทำสังฆกรรมต่อไปความจริงนั้นครั้งโบราณกาลมา วัดช้างให้เคยมีอุโบสถมาก่อนแล้วแต่ชำรุดสลายตัวไปหมด เพราะเวลาที่ปรากฏเป็นให้เห็นเพียงพัทธสีมาและเนินดินที่เป็นอุโบสถเก่าแก่ เท่านั้น ท่านอาจารย์ทิมจึงได้กำหนดวางศิลาฤกษ์ อันเป็นรากฐานของอุโบสถแห่งใหม่ในวันที่ 6 สิงหาคม 2495 แล้วขุดดินลงรากก่อกำแพงหน้าอุโบสถสืบต่อมาจนถึง พ.ศ.2496 งานก่อสร้างสำเร็จลงเพียงแค่กำแพงอุโบสถโดยรอบเท่านั้นงานก่อสร้างหยุดชะงัก ลงเพราะหมดทุนที่จะใช้จะจ่ายต่อไป
          ต่อมาในปี พ.ศ.2497 หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดช้างให้ได้ประทานนิมิตอัน เป็นมงคลยิ่งแก่ นายอนันต์ คณานุรักษ์ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ห่างจากวัดประมาณ 31 กิโลเมตร ให้สร้างพระเครื่องรางเป็นรูปภิกษุชรา ขึ้นแท่นองค์ของท่าน นายอนันต์นมัสการพร้อมทั้งปรึกษาท่านอาจารย์ทิม และเตรียมงานสร้างพระเครื่องในวันที่ 19 มีนาคม 2497 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 เวลาเที่ยงตรง ได้ฤกษ์พิธีปลุกเสกเบ้าและพิมพ์พระเครื่องหลวงพ่อทวดเรื่อยมาทุก ๆ วัน จนถึงวันที่ 15 เมษายน 2497 พิมพ์พระเครื่องหลวงพ่อทวดรุ่นแรกได้ 64,000 องค์ ทั้ง ๆ ที่ตั้งใจจะพิมพ์ให้ได้ 84,000องค์ แต่เวลาจำกัดในการพิธีปลุกเสก ก็ต้องหยุดพิมพ์พระเครื่องเพื่อเอาเวลาเตรียมงานพิธีปลุกเสกพระเครื่องตาม เวลาที่หลวงพ่อทวดกำหนดให้พระครูปฏิบัติ และแล้ววันอาทิตย์ ที่ 18 เมษายน 2497 ขึ้น 15 ค่ำเวลาเทียงตรงได้ฤกษ์พิธีปลุกเสกพระเครื่องหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ ณ เนินดินบริเวณอุโบสถเก่า โดยมีท่านอาจารย์ทิมเป็นอาจารย์ประธานในพิธีและนั้งปรกได้อาราธนาอัญเชิญพระ วิญญาณหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดพร้อมวิญญาณหลวงพ่อสี หลวงพ่อทอง และหลวงพ่อจัน ซึ่งหลวงพ่อทั้งสามองค์นี้สิ่งสถิตย์อยู่รวมกับหลวงพ่อทวดในสถูปหน้าวัดขอ ให้ท่านประสิทธิ์ประสาทความศักดิ์สิทธิ์ความขลังแด่พระเครื่องฯ นอกจากนั้นก็มี หลวงพ่อสงโฆสโก เจ้าอาวาสวัดพะโคะ พระอุปัชฌาย์ดำ วัดศิลาลอง พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์อาวุโส ณ วัดช้างให้ ร่ายพิธีปลุกเสกพระเครื่องสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เสร็จลงในเวลา 16.00 น. ของวันนั้นท่านอาจารย์ทิมพร้อมด้วยพระภิกษ์อาวุโสและคณะกรรมการวัดนำทีมโดย นายอนันต์ คณานุรักษ์ ได้ร่วมกันทำการแจกจ่ายพระเครื่องหลวงพ่อทวดให้แก่ประชาชนผู้เลื่อมใสซึ่งมา คอยรอรับอยู่อย่างคับคั่งจนถึงเวลาเทียงคืนปรากฎว่าในวันนั้น คือ วันที่ 18 เมษายน 2497 กรรมการได้รับเงินจากผู้ใจบุญโมทนาสมทบทุนสร้างอุโบสถเป็นจำนวนเงิน 14,000 บาท หลังจากนั้นมาด้วยอำนาจบุญบารมีอภินิหารหลวงพ่อทวดได้ดลบรรดาลให้พี่น้อง หลายชาติหลายภาษาร่วมสามัคคีสละทรัพย์โมทนาสมทบทุนสร้างอุโบสถดำเนินไป เรื่อยๆ มิได้หยุดหยั่งจนถึงวันที่ 19 สิงหาคม 2499 ได้จัดพิธียกช่อฟ้าและวันที่ 31 พฤษภาคม 2501 ได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถหลังนี้จึงสำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์






 ปิดทองหลังพระ




ประวัติหลวงปู่ทวด

เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วหัวเมืองทางภาคใต้ของประเทศไทยเล่าลือกันมาว่า ทุกๆ สมัย เกิดมีพระภิกษุสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จ ๔ องค์ด้วยกัน คือ

     ๑. สมเด็จเจ้าเกาะยอ
     ๒. สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่
     ๓. สมเด็จเจ้าจอมทอง
     ๔. สมเด็จเจ้าพะโคะ


แต่ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะตำนานสมเด็จเจ้าพะโคะโดยตรง ตามตำนานกล่าวไว้ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะองค์นี้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระราชมุณีสามีรามคุณูปมาจารย์"จากสมเด็จพระมหาธรรมราชาสมัยพระองค์ ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีและกล่าวไว้ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะ ชาตะ วันศุกร์ เดือน ๔ ปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๒๕ บิดาชื่อตาหู มารดาชื่อนางจันทร์ มีอายุมากแล้วจึงคลอดบุตรเป็นชายชื่อเจ้าปู่ และได้คลอดบุตรคนนี้ที่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระ (อำเภอสะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา ในเวลานี้)
ตาหู นางจันทร์ เป็นคนยากจนได้อาศัยอยู่กับคหบดีผู้หนึ่งซึ่งไม่ปรากฏนาม สองสามีภรรยาเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมเมื่อนางจันทร์ออกจากการอยู่ไฟ เนื่องจากการคลอดบุตรแล้ว วันหนึ่งนางจันทร์ได้อุ้มลูกน้อยพร้อมด้วยสามีออกไปทุ่งนา เพื่อช่วยเก็บข้าวให้แก่เจ้าของบ้านที่พลอยอาศัย ครั้นถึงทุ่งนาได้เอาผ้าผูกกับต้นเหม้าและต้นหว้า ซึ่งขึ้นอยู่ใกล้กันให้ลูกนอน แล้วพากันลงนาเก็บเกี่ยวข้าวต่อไป ขณะที่สองผัวเมียกำลังเก็บเกี่ยวข้าวอยู่นั้น นางจันทร์ได้เป็นห่วงลูกและได้เหลียวมามองที่เปล ปรากฎว่ามีงูบองตัวโตกว่าปกติได้ขดตัวรวบรัดเปลที่เจ้าปู่นอน สองสามีภรรยาตกใจร้องหวีดโวยวายขึ้นเพื่อนชาวนาที่เกี่ยวข้าวอยู่ใกล้เคียง ก็รีบพากันวิ่งมาดู แต่ก็ไม่มีใครจะสามารถช่วยอะไรได้งูใหญ่ตัวนั้นเห็นคนเข้าใกล้ก็ชูศรีษะสูง ขึ้น ส่งเสียงขู่คำรามดังอย่างน่ากลัวจึงไม่มีใครกล้าเข้าไปใกล้เปลนั้นเลย
          ฝ่ายนายหูนางจันทร์ผู้ตั้งมั่นอยู่ในบุญกุศลยืนนิ่งพินิจพิจารณาอยู่ ปรากฏว่างูใหญ่ตัวนั้นมิได้ทำอันตรายแก่บุตรน้อยของตนเลยจึงเกิดความสงสัย ว่างูบองใหญ่ตัวนี้น่าจะเกิดจากเทพนิมิตรบันดาล คิดดังนั้นแล้วก็พากันหาดอกไม้และเก็บรวงข้าวเผาเป็นข้าวตอกนำมาบูชาและกราบ ไหว้งูใหญ่พร้อมด้วยกล่าวคำสัตย์อธิษฐานขอให้ลูกน้อยปลอดภัย ในชั่วครู่นั้นงูใหญ่ก็คลายขนดลำตัวออกจากเปลอันตรธานหายไปทันที นายหูนางจันทร์และเพื่อนพากันเข้าไปดูทารกที่เปลปรากฏว่าเจ้าปู่ยังนอนหลับ เป็นปกติอยู่ แต่มีแก้วดวงหนึ่งวางอยู่ที่คอในที่ลุ่มใต้ลูกกระเดือกแก้วดวงนั้นมีสีแสง รุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสีสองสามีภรรยาจึงเก็บรักษาไว้ คหบดีเจ้าของบ้านทราบความจึงขอแก้วดวงนั้นไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตาหูนางจันทร์ก็ จำใจมอบให้คหบดีผู้นั้นเมื่อได้แก้วพยางูมาไว้เป็นสมบัติของตนแล้วต่อมาไม่ นานก็เกิดวิปริตให้ความเจ็บไข้ได้ทุกข์แก่คหบดีจนไม่มีทางแก้ไขได้ จนถึงที่สุดคหบดีเจ้าบ้านจึงคิดว่าเหตุร้ายที่เกิดขึ้นครั้งนี้คงเป็นเพราะ ยึดดวงแก้วพยางูนั้นไว้จึงให้โทษและเกรงเหตุร้ายจะลุกลามยิ่ง ๆ ขึ้น จึงตัดสินใจคืนแก้วดวงนั้นให้สองสามีภรรยากลับคืนไป ต่อมาภายในบ้านและครอบครัวของคหบดีผู้นั้นก็ได้อยู่เย็นเป็นสุขตามปกติ ขณะที่นายหูนางจันทร์ได้ครอบครองแก้ววิเศษอยู่นั้นปรากฏว่าเจ้าของบ้านก็มี ความเมตตาสงสารไม่ใช้งานหนัก การทำมาหาเลี้ยงชีพก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา
          เมื่อกาลล่วงมานานจนเจ้าปู่อายุ ๗ ปี บิดามารดาได้นำไปถวายสมภารจวงให้เรียนหนังสือ ณ วัดดีหลวง เด็กชายปู่ศึกษาเล่าเรียนมีความเฉลียวฉลาดยิ่งกว่าเพื่อนคนใด ๆ เมื่อเด็กชายปู่มีอายุ ๑๕ ปี สมภารจวงผู้เป็นอาจารย์ได้บวชให้เป็นสามเณร ต่อมาท่านอาจารย์ได้นำไปฝากท่ารพระครูสัทธรรมรังสีให้เรียนหนังสือมูลกัจ จายน์ ณ วัดสีหยัง (วัดสีคูยัง อ.ระโนด เวลานี้)
สามเณรปู่เรียนมูลกัจจายน์อยู่กับท่านพระครูสัทธรรมรังสี ซึ่งคณะสงฆ์ส่งท่านมาจากกรุงศรีอยุธยาให้เป็นครูสอนวิชามูล ฯ ทางหัวเมืองฝ่ายใต้ ในสมัยนั้นมีพระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียนกันมากสามเณรปู่มีสติปัญญา เฉลียวฉลาดส่อนิสัยปราชญ์มาแต่กำเนิด ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชามูล ฯ อยู่ไม่นานก็สำเร็จเป็นที่ชื่นชมของอาจารย์เป็นอย่างมาก เมื่อสามเณรปู่เรียนจบวิชามูล ฯ แล้วได้กราบลาพระอาจารย์ไปเรียนต่อยังสำนักพระครูกาเดิม ณ วัดสีเมือง เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อครบอายุบวชพระครูกาเดิมผู้เป็นอาจารย์จัดการอุปสมบทให้เป็นภิกษุในพุทธ ศาสนา ทำญัติอุปสมบทให้ฉายาว่า "สามีราโม" ณ สถานที่คลองแห่งหนึ่งโดยเอาเรือ ๔ ลำ มาเทียบขนานเข้าเป็นแพทำญัติ ต่อมาคลองแห่งนั้นมีชื่อเรียกกันว่าคลองท่าแพจนบัดนี้
          พระภิกษุปู่เรียนธรรมอยู่สำนักพระครูกาเดิม ๓ ปี ก็เรียนจบชั้นธรรมบทบริบูรณ์พระภิกษุปู่ได้กราบลาพระครูกาเดิมจากวัดสีมา เมืองกลับภูมิลำเนาเดิม ต่อมาได้ขอโดยสารเรือสำเภาของนายอินทร์ลงเรือที่ท่าเมืองจะทิ้งพระจะไปกรุง ศรีอยุธยาพระนครหลวงเพื่อศึกษาเล่าเรียนธรรมเพิ่มเติมอีกเรือสำเภาใช้ใบแล่น ถึงเมืองนครศรีธรรมราช นายอินทร์เจ้าของเรือได้นิมนต์ขึ้นบกไปนมัสการพระบรมธาตุตามประเพณีชาวเรือ เดินทางไกลซึ่งได้ปฏิบัติกันมาแต่กาลก่อน ๆ เพื่อขอความสวัสดีต่อการเดินทางทางทะเลแล้วพากันลงเรือสำเภาที่คลองท่าแพ เรือสำเภาใช้ใบสู่ทะเลหลวงเรียบร้อยตลอดมาเป็นระยะทาง ๓ วัน ๓ คืน วันหนึ่งท้องทะเลฟ้าวิปริตเกิดพายุ ฝนตกมืดฟ้ามัวดินคลื่นคนองเป็นคลั่งเรือจะแล่นต่อไปไม่ได้จึงลดใบทอดสมอสู้ คลื่นลมอยู่ถึง ๓ วัน ๓ คืน จนพายุสงบเงียบลงเป็นปกติ แต่เหตุการณืบนเรือสำเภาเกิดความเดือดร้อนมากเรพาะน้ำจืดที่ลำเลียงมาหมดลง คนเรือไม่มีน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหารนายอินทร์เจ้าของเรือเป็นเดือดเป็นแค้น ในเหตุการณ์ครั้งนั้นหาว่าเป็นเพราะพระภิกษุปู่พลอยอาศัยมาจึงทำให้เกิดเหตุ ร้ายซึ่งตนไม่เคยประสบเช่นนี้มาแต่ก่อนเลย ผู้บันดาลโทสะย่อมไม่รู้จักผิดชอบฉันใดนายเรือคนนี้ก็ฉันนั้น เขาจึงได้ไล่ให้พระภิกษุปู่ลงเรือใช้ให้ลูกเรือนำไปขึ้นฝั่งหมายจะปล่อยให้ ท่านไปตามยะถากรรม ขณะที่พระภิกษุปู่ลงนั่งอยู่ในเรือเล็กท่านได้ยื่นเท้าลงเหยียบน้ำทะเลแล้ว บอกให้ลูกเรือคนนั้นตักน้ำขึ้นดื่มกินดู ปรากฏว่าน้ำทะเลที่เค็มจัดตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำที่มีรสจืดสนิท ลูกเรือคนนั้นจึงบอกขึ้นไปบนเรือใหญ่ให้เพื่อนทราบพวกกะลาสีบนเรือใหญ่จึงพา กันตักน้ำทะเลตรงนั้นขึ้นไปดื่มแก้กระหาย พากันอัศจรรย์ในอภินิหารของพระภิกษุหนุ่มยิ่งนัก ความทราบถึงนายอินทร์เจ้าของเรือจึงได้ดื่มน้ำพิสูจน์ดูปรากฏว่าน้ำทะเลที่ จืดนั้นมีบริเวณอยู่จำกัดเป็นวงกลมประมาณเท่าล้อเกวียนนอกนั้นเป็นน้ำเค็ม ตามธรรมชาติของทะเลจึงสั่งให้ลูกเรือตักน้ำในบริเวณนั้นขึ้นบรรจุภาชนะไว้บน เรือจนเต็ม นายอินทร์และลูกเรือได้ประจักษ์ในอภินิหารของท่านเป็นที่อัศจรรย์เช่นนั้นก็ เกิดความหวาดวิตกภัยภิบัติที่ตนได้กระทำไว้ต่อท่านจึงได้นิมนต์ให้ท่านขึ้น บนเรือใหญ่แล้วพากันการบไหว้ขอขมาโทษตามที่ตนได้กล่าวคำหยาบต่อท่านมาแล้ว และถอนสมอใช้ใบแล่นเรือต่อไปเป็นเวลาหลายวันหลายคืนโดยเรียบร้อย
          ขณะเรือสำเภาถึงกรุงศรีอยุธยาเข้าจอดเทียบท่าเรียบร้อยแล้วนายอินทร์ได้ นิมนต์ท่านให้เข้าไปในเมืองแต่ท่านไม่ยอมเข้าเมือง ท่านปรารถนาจะอยู่ ณ วัดนอกเมืองเพราะเห็นว่าเป็นที่เงียบสงบดีและได้ไปอาศัยอยู่ ณ วัดราชานุวาส ซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองขณะนั้นพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยา
          ในสมัยนั้นประเทศลังกาอันมีพระเจ้าวัฏฏะคามินีครองราชเป็นเจ้าแผ่นดินมีพระ ประสงค์จะได้กรุงศรีอยุธยาไว้ใต้พระบรมเดชานุภาพ แต่พระองค์ไม่มีประสงค์จะก่อสงครามให้เกิดการรบราฆ่าฟันและกันให้ประชาชนข้า แผ่นดินเดือดร้อนจึงมีนโยบายอย่างหนึ่งที่สามารถจะเอาชนะประเทศอื่นโดยการ ท้าพนัน พระองค์จึงตรัสสั่งให้พนักงานพระคลังเบิกจ่ายทองคำในท้องพระคลังหลวงมอบให้ แก่นายช่างทองไปจัดการหลอมหล่อเป็นตัวอักษรเท่าใบมะขามจำนวน ๘๔,๐๐๐ เมล็ด แล้วมอบให้แก่พราหนณ์ผู้เฒ่า ๗ คน พร้อมด้วยข้าวของอันมีค่าบรรทุกลงเรือสำเภา ๗ ลำ พร้อมด้วยพระราชสาส์นให้แก่พราหมณ์ทั้ง ๗ นำลงเรือสำเภาใช้ใบแล่นไปยังกรุศรีอยุธยา เมื่อเรือสำเภาจอดท่ากรุศรีอยุธยาเรียบร้อยแล้ว พราหมณ์ทั้ง ๗ ได้พากันเข้าเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชาและถวายสาส์น
          สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงไทยทรงอ่านพระราชสาส์นความว่า พระเจ้ากรุงลังกาขอท้าพระเจ้ากรุงไทยให้ทรงแปลพระธรรมในเมล็ดทองคำและเรียบ เรียงลำดับให้เสร์จภายใน ๗ วัน ถ้าแปลแและเรียบเรียงได้ทันกำหนดพระเจ้ากรุงลังกาขอภวายข้าวของอันมีค่าทั้ง ๗ ลำเรือสำเภาเป็นบรรณาการแก่พระเจ้ากรุงไทย แต่ถ้าพระเจ้ากรุงไทยแปลเรียงเมล็ดทองคำไม่ได้ตามกำหนดให้พระเจ้ากรุงไทย จัดการถวายดอกไม้เงินและทองส่งเป็นราชบรรณาการแก่กรุงลังกาทุก ๆ ปีตลอดไป
          เมื่อพระองค์ทรงทราบพระราชสาส์นอันมีข้อความดังนั้น จึงทรงจัดสั่งนายศรีธนญชัยสังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระภิกษุ สงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วประเทศให้เข้ามาแปลธรรมในพระมหานครทันกำหนด เมื่อประกาศไปแล้ว ๖ วัน ก็ไม่มีใครสามารถแปลเรียบเรียงเมล็ดทองคำนั้นได้ พระองค์ทรงปริวิตกยิ่งนักและในคืนวันนั้นพระองค์ทรงสุบินนิมิตว่ามีพระยา ช้างเผือกผู้มาจากทิศตะวันตกขึ้นยืนอยู่บนพระแท่นในพระบรมมหาราชวังได้เปล่ง เสียงร้องก้องดังได้ยินไปทั่วทั้งสี่ทิศ ทรงตกพระทัยตื่นบรรทมในยามนั้นและทรงพระปริวิตกในพระสุบินนิมิตเกรงว่า ประเทศชาติจะเสียอธิปไตยและเสื่อมเสียพระบรมเดชานุภาพทรงพระวิตกกังวลไม่เป์ นอันบรรทมจนรุ่งสาง
          เมื่อได้เสด็จออกยังท้องพระโรงสั่งให้โหรหลวงเข้าเฝ้าโดยด่วนและทรงเล่า สุบินนิมิตให้โหรหลวงทำนายเพื่อจะได้ทรงทราบว่าร้ายดีประการใด เมื่อโหรหลวงทั้งคณะได้พิจารณาดูยามในพระสุบินนิมิตนั้นละเอียดถี่ถ้วนดี แล้ว ก็พร้อมกันกราบถวายบังคมทูลว่าตามพระสุบินนิมิตนี้จะมีพระภิกษุหนุ่มรูป หนึ่งมาจากทิศตะวันตกอาสาเรียงและแปลพระธรรมได้สำเร็จ พระบรมเดชานุภาพของพระองค์จะยั่งยืนแผ่ไพศาลไปทั่วทั้งสี่ทิศเมื่อพระองค์ ทรงทราบแล้วก็คลายพระปริวิตกลงได้บ้าง
          ด้วยเดชะบุญบันดาลในเช้าวันนั้นบังเอิญศรีธนญชัยไปพบพระภิกษุปู่ที่วัด ราชานุวาส ได้สนทนาปราศรัยกันแล้วก็ทราบว่าท่านมาจากเมืองตะลุง ( พัทลุงเวลานี้ ) เพื่อศึกษาธรรม ศรีธนญชัยเล่าเรื่องกรุงลังกาท้าพนันให้แปลธรรม แล้วถามว่าท่านยังจะช่วยแปลได้หรือ พระภิกษุปู่ตอบว่าถ้าไม่ลองก็ไม่รู้ ศรีธนญชัยจึงนิมนต์ท่านเข้าเฝ้า ณ ที่ประชุมสงฆ์ ขณะที่พระภิกษุปู่ถึงประตูหน้าวิหาร ท่านย่างก้าวขึ้นไปยืนเหยียบบนก้อนหินศิลาแลง ทันทีนั้นศิลาแลงได้หักออกเป็นสองท่อนด้วยอำนาจอภินิหารเป็นที่อัศจรรย์ยิ่ง นัก เมื่อเข้าไปในพระวิหารพระทหากษัตริย์ตรัสสั่งพนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่ อันสมควร แต่ก่อนที่ท่านจะเข้านั่งที่แปลพระธรรมนั้นท่านได้แสดงกิริยาอาการเป็นปัญหา ธรรมต่อหน้าพราหมณ์ทั้ง ๗ กล่าวคือ ท่าแรกท่านนอนลงในท่าสีหะไสยาสน์ แล้วลุกขึ้นนั่งทรงกายตรงแล้วกะเถิบไปข้างหน้า ๕ ที แล้วลุกขึ้นเดินเข้าไปนั่งในที่อันสมควร พราหมณ์ผู้เฒ่าทั้ง ๗ เห็นท่านแสดงกิริยาเช่นนั้นเป็นการขบขันก็พากันหัวเราะและพูดว่า นี่หรือพระภิกษุที่จะแปลธรรมของพระบรมศาสดา อะไรจึงแสดงกิริยาอย่างเด็กไร้เดียงสา พราหมณ์พูดดูหมิ่นท่านหลายครั้ง ท่านจึงหัวเราะ แล้วถามพรามณ์ว่า ประเทศชาติบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน ท่านไม่เคยพบเห็นกิริยาเช่นนี้บ้างหรือ ? พราหมณ์เฒ่าฉงนใจก็นิ่งอยู่ ต่างนำบาตรใส่เมล็ดทองคำเข้าประเคนท่านทันที
          เมื่อพระภิกษุปู่รับประเคนบาตรจากมือพราหมณ์มาแล้วท่านก็นั่งสงบจิตอธิษฐาน แต่ในใจว่า ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อน และอำนาจเทพยดาอันรักษาพระนครตลอดถึงเทวาอารักษ์ศักดิ์สิทธ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบัลดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่มาขัดขวางขอให้แปลพระธรรม คำสอนของพระพุทธองค์สำเร็จสมปรารถนาเถิด ครั้นแล้วท่านคว่ำบาตเททองเรี่ยราดลงบนพรมและนั่งคุยกับพราหมณ์ตามปกติ
ด้วยอำนาจบารมีอภินิหารของท่านที่ได้จุติลงมาโปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนาประกอบ กับโชคชะตาของประเทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย เทพยดาทั้งหลายจึงดลบันดาลเรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับตัวอักษรโดยเรียบ ร้อยใน้วลานั้น ชั่วครู่นั้นท่านก็ได้เหลียวกลับมาลงมือเรียบเรียงและแปลอักษรในเมล็ดทองคำ จำนวน ๘๔,๐๐๐ เมล็ด เป็นลำดับโดยสะดวกและไม่ติดขัดประการใดเลย นับว่าโชคชะตาของประเทศชาติยังคงรุ่งเรืองสืบไป
          ขณะที่พระภิกษุปู่เรียงและแปลอักษรไปได้มากแล้วปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอักษร ขาดหายไป ๗ ตัว คือตัว สํ วิ ทา ปุ กะ ยะ ปะ ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์พราหมณ์ทั้ง ๗ คนยอมจำนน จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้แก่ท่านโดยดี ปรากฏว่าพระภิกษุปู่แปลพระไตรปิฎกในเมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์ เป็นการชนะพราหมณ์ในเวลาเย็นของวันนั้นและทันใดนั้นก็ได้ยินเสียงปี่พาทย์ ประโคมพร้อมเสียงประชาชนโห่ร้องต้อนรับชัยชนะเสียงดังสนั่นหวั่นไหวทั่วพระ นครศรีอยุธยาเป็นการฉลองชัย
สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงพระโสมนัสยินดีเป็นที่ยิ่งจึงตรัสสั่งถวายราชสมบัติ ให้พระภิกษุปู่ครอง ๗ วัน แต่ท่านไม่ยอมรับโดยไห้เหตุผลว่าท่านเป็นสมณเพศไม่สมควรที่จะครองราชสมบัติ อันผิดกิจของสมณควรประพฤติ พระองค์ก็จนพระทัยแต่พระประสงค์อันแรงกล้าที่จะสนองคุณความดีความชอบอันใหญ่ ยิ่งให้แก่ท่านในครั้งนี้จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าทรงแต่งตั้งให้พระภิกษุปู่ ดำรงสมณศักดิ์ ทรงพระราชทานนามว่า "พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์" ในเวลานั้น
          พระภิกษุปู่หรือพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ได้ประจำพรรษาอยู่ ณ วัดราชานุวาสศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นเวลาหลายปีด้วยความสงบร่มเย็นเป็นสุข ตลอดมา กาลนานมาปีหนึ่งในพระมหานครศรีอยุธยาเกิดโรคระบาดขึ้นร้ายแรง เช่น อหิวาตกโรค
ประชาราษฎรล้มป่วยเจ็บตายลงเป็นอันมาก ประชาชนพลเมืองเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่งนักสมัยนั้นหยูกยาก็ไม่มีนิยมใช้รักษา ป้องกันด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกกังวลมาก เพราะไม่มีวิธีใดจะช่วยรักษาและป้องกันโรคนี้ได้และทรงระลึกถึงพระราชมุนี สามีรามคุณูปมาจารย์ขึ้นได้จึงตรัสสั่งให้ศรีธนญชัยไปนิมนต์ท่านมาเข้าเฝ้า ทรงปรารภในเรื่องทุกข์ร้อนของพลเมืองที่ได้รับทุกข์ยุกเข็ญด้วยโรคระบาดอยู่ ในขณะนี้ ท่านจึงทำพิธีปลุกเสกน้ำพระพุทธมนต์แล้วนำไปพรมให้แก่ประชาชนทั่วพระนคร ปรากฏว่าโรคระบาดได้ทุเลาเหือดหายไปในไม่ช้าประชาชนได้รับความร่มเย็นเป็น สุขตลอดมา ในหลวงทรงพระปรีดาปราโมทย์เป็นอันมาก ทรงเคารพเลื่อมใสในองค์ท่านอย่างยิ่ง วันหนึ่งได้ทรงตรัสปรารภกับท่านว่า ต่อไปนี้หากพระคุณเจ้ามีความปรารถนาสิ่งอันใดขอนิมนต์ให้ทราบความปรารถนา นั้น ๆ จะทรงพระราชทานถวาย ขอพระคุณเจ้าอย่าได้เกรงพระทัยเลย
          การล่วงมานานประมาณว่า พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์มีวัยชราแล้ว วันหนึ่งท่านได้เข้าเฝ้าถวายพระพรทูลลาจะกลับภูมิลำเนาเดิม พระองค์ทรงเกรงใจท่านไม่กล้านิมนต์ขอร้องแต่อย่างใด ได้พระราชทานอนุญาตตามความปรารถนาของท่าน เมื่อพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์กลับภูมิลำเนาเดิมแล้วครั้งนั้ยปรากฏมี หลักฐานว่าไว้ว่าท่านเดินกลับทางบกธุดงค์โปรดสัตว์เรื่อยมาเป็นเวลาช้านาน จนถึงวัดพระสิงห์บรรพตพะโคะตามแนวทางเดินที่ท่านเดินและพักแรมที่ใดต่อมาภาย หลังสถานที่ที่ท่านพักแรมนั้นเกิดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนในถิ่นนั้นได้ทำการเคารพบูชามาถึงบัดนี้ คือปรากฏว่าขณะที่ท่านพักแรมอยู่ที่บ้านโกฏิในอำเภอปากพนัง เมื่อท่านเดินทางจากไปแล้วภายหลังประชาชนยังมีความเคารพเลื่อมใส่ท่านอยู่ มากจึงได้ชักชวนกันขุดดินพูนขึ้นเป็นเนินตรงกับที่ท่านพักแรมไว้เป็นที่ ระลึก รอบ ๆ เนินดินนั้นจึงเป็นคูน้ำล้อมรอบเนินและสถานที่แห่งนี้ต่อมาก็เกิดเป็นสถาน ที่ศักดิ์สิทธิ์จนถึงบัดนี้
          เมื่อท่านเดินทางมาถึงหัวลำภูใหญ่ในอำเภอหัวไทรในเวลานี้เป็นสถานที่ที่มี หาดทรายขาวสะอาดต้นลำภูแผ่กิ่งก้านสาขาร่มรื่นเย็นสบาย ท่านจึงอาศัยพักแรมอยู่ใต้ต้นลำภูนั้น ทำสมาธิวิปัสสนา ประชาชนในถิ่นนั้นได้พร้อมใจกันมากราบไหว้บูชาและฟังท่านแสดงธรรมอันเป็น หลักควรปฏิบัติของพระพุทธศาสนา ต่อมาประชาชนเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาแรงกล้าจึงพร้อมใจกันสร้างศาลาถวายขึ้น หนึ่งหลังและท่านได้จากสถานที่นี้ไปนี้ต่อมาภายหลังไม่นานศาลาหลังนี้เกิด เป็นศาลาศักดิ์สิทธิ์ประชาชนชาวบ้านถิ่นนั้นและใกล้เคียงจึงชักชวนกันมาทำ พิธีสมโภชศาลาศักดิ์สิทธิ์หลังนั้นเป็นการระลึกถึงท่านถือเอาวันพฤหัสบดี เป็นวันพิธีชักชวนกันทำขนมโคมาบวงสรวงสมโภชทุกๆ วันพฤหัสฯ เป็นประจำจนเป็นประเพณีมาจนกระทั่งบัดนี้
          เมื่อท่านจากหัวลำภูใหญ่เดินทางมาถึงบางค้อนท่านได้หยุดพักแรมพอหายเมื่อย ล้าแล้วก็เดินทางต่อไปจนถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ หลังจากที่ท่านจากไปแล้วสถานที่บางค้อนก็เกิดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ปรากฏ มาจนบัดนี้
พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์หรือพระภิกษุปู่กลับถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะ โคะ ครั้งนี้ประชาชนชื่นชมยินดีแซ่ซ้องสาธุการต้อนรับท่านเป็นการใหญ่ ประชาชนได้พร้อมใจกันขนานนามท่านขึ้นใหม่เรียกกันว่า "สมเด็จเจ้าพะโคะ" ตั้งแต่นั้นมาจนบัดนี้ต่อมาวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะอันเป็นชื่อเดิมก็ถูก เรียกย่อ ๆ เสียใหม่ว่า "วัดพะโคะ"จนกระทั่งบัดนี้
ตามตำนานกล่าวไว้ว่า วัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะนี้มีพระอรหันต์ ๓ องค์ เป็นผู้สร้างขึ้น คือ
๑. พระนาไรมุ้ย
๒. พระมหาอโนมทัสสี
๓. พระธรรมกาวา
          ต่อมาพระมหาอโนมทัสสีได้เดินทางไปประเทศอินเดียอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพระ บรมศาสลับมา พระยาธรรมรังคัลเจ้าเมือง "จะทิ้งพระ" ในสมัยนั้นมีความเลื่อมใสศรัทธา จัดการก่อสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่สูงถึง ๒๐ วา ขึ้นถวายแล้วทำพิธีสมโภชบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายในเจดีย์องค์นั้นและคง มีปรากฏอยู่จนบัดนี้
          ขณะที่สมเด็จเจ้าพะโคะหรือพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ได้หยุดพักผ่อนนาน พอสมควร ท่านได้ตรวจดูเห็นปูชนียสถานและกุฏิวิหารเก่าแก่ได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปมากควร จะบูรณะซ่อมแซมเสียใหม่ ดังนั้นท่านจึงได้เดินทางเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยาเข้าเฝ้าสมเด็จพระมหา ธรรมราชาอีกวาระหนึ่ง (ในตำนานมิได้กล่าวไว้ว่าท่านไปทางบกหรือไปทางน้ำ) เมื่อได้สนทนาถามสุขทุกข์กันแล้ว ท่านก็ทูลถวายพระพรพระองค์ตามความปรารถนาที่จะบูรณะและปฏิสังขรณ์วัดให้ พระองค์ทรงทราบ ครั้นได้ทราบจุดประสงค์ก็ทรงศรัทธาเลื่อมใสร่วมอนุโมทนาด้วย จึงตรัสสั่งให้พระเอกาทศรถพระเจ้าลูกยาเธอ จัดการเบิกเงินในท้องพระคลังหลวงมอบถวาย และจัดหาศิลาแลงบรรทุกเรือสำเภา ๗ ลำ พร้อมด้วยนายช่างหลวงหลายนาย มอบหมายให้ท่านนำกลับไปดำเนินงานตามความปรารถนาปรากฏว่าท่านได้ทำการบูรณะ ซ่อมแซมและปลูกสร้าง (วัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ) อยู่หลายปีจึงสำเร็จบริบูรณ์
          สมเด็จพระเจ้าพะโคะ เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชายังกรุงศรีอยุธยาครั้งหนึ่งปรากฏว่าพระองค์ ทรงเลื่อมใสเคารพต่อท่านเป็นยิ่งนัก ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระทานที่ดินนาถวายแก่ท่านเป็นกัลปนา ขึ้นแก่วัดพัทสิงห์บรรพตพะโคะ จำนวน ๙๐ ฟ้อน พร้อมด้วยประชาราษฎรที่อาศัยอยู่ในเขตที่ดินนั้น มีอาณาเขตติดต่อ โดยถือเอาวัดพัทธสีห์บรรพตพะโคะเป็นศูนย์กลางดังนี้
๑. ทางทิศเหนือ ตั้งแต่แหลมชุมพุกเข้ามา
๒. ทางทิศใต้ ตั้งแต่แหลมสนเข้ามา
๓. ทางทิศตะวันออก จดทะเลจีนเข้ามา
๔. ทางทิศตะวันตก จดทะเลสาบเข้ามา
          ขณะที่สมเด็จเจ้าพะโคะกลับจากกรุงศรีอยุธยาได้ประจำพรรษาอยู่ ณ วัดพะโคะ
ครั้งนี้คาดคะเนว่าท่านมีอายุกาลถึง ๘๐ ปีเศษอยู่มาวันหนึ่งท่านถือไม้เท้าศักดิ์ประจำตัว ไม้เท้านี้มีลักษณะคดไปมาเป็น ๓ คด ชาวบ้านเรียกว่าไม้เท้า ๓ คด ท่านออกจากวัดมุ่งหน้าเดินไปยังฝั่งทะเลจีน และขณะที่ท่านเดินเล่นรับอากาศทะเลอยู่นั้น ได้มีเรือโจรสลัดจีนแล่นเลี่ยบชายฝั่งมา พวกโจรสลัดจีนเห็นสมเด็จเดินอยู่ คิดเห็นว่าเป็นคนประหลาดเพราะท่านครองสมณเพศ พวกโจรจึงแวะเรือเข้าขึ้นฝัง นำเอาท่านลงเรือไป เมื่อเรือโจรจีนออกจากฝั่งไม่นาน เหตุมหัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้น คือเรือลำนั้นจะแล่นต่อไปไม่ได้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกโจรจีนได้พยายามแก้ไขจนหมดความสามารถ เรือก็ยังไม่เคลื่อนจึงได้จอดเรือนิ่งอยู่ ณ ที่นั่นเป็นเวลาหลายวันหลายคืน ที่สุดน้ำจืดที่ลำเลียงมาบริโภคในเรือก็ได้หมดสิ้นจึงขาดน้ำดื่มและหุงต้ม อาหาร พากันเดือดร้อนกระวนกระวายด้วยการกระหายน้ำเป็นอย่างยิ่ง สมเด็จท่านสังเกตเห็นเหตุการณ์ความเดือดร้อนของพวกเรือถึงขั้นที่สุดแล้ว ท่านจึงเหยียบกราบเรือให้ตะแคงต่ำลงแล้วยื่นเท้าเหยียบลงบนผิวน้ำทะเล ทั้งนี้ย่อมไม่พ้นความสังเกตของพวกจีนไปเมื่อท่านยกเท้าขึ้นจากผิวน้ำทะเล แล้วก็สั่งให้พวกโจรจีนตักน้ำตรงนั้นขึ้นมาดื่มชิมดู พวกจีนแม้ไม่เชื่อก็จำเป็นต้องลองเพราะไม่มีทางใดที่จะช่วยตัวเองได้แล้ว แต่ได้ปรากฏว่าน้ำทะเลเค็มจัดที่ตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำจืดเป็นที่อัศจรรย์ ยิ่งนัก พวกโจรสลัดจีนได้เห็นประจักษ์ในคุณอภินิหารของท่านเช่นนั้นก็พากันหวาดเกรง ภัยที่จะเกิดแก้พวกเขาต่อไปจึงได้พากันกราบไหว้ขอขมาโทษแล้วพาท่านล่องเรือ ส่งกลับขึ้นฝั่งต่อไป
          เมื่อสมเด็จเจ้าพะโคะขึ้นจากเรือเดินกลับวัดถึงที่แห่งหนึ่ง ท่านหยุดพักเหนื่อยได้เอาไม้เท้า ๓ คด พิงไว้กับต้นยางสองต้นอันยืนต้นคู่เคียงกัน ต่อมาต้นยางสองต้นนั้นสูงใหญ่ขึ้นลำต้นและกิ่งก้านสาขาเปลี่ยนสภาพจากเดิม กลับคด ๆ งอ ๆ แบบเดียวกับรูปไม้เท้าทั้งสองต้น ประชาชนในถิ่นนั้นเรียกว่า ต้นยางไม้เท้า ยังมีปรากฏอยู่ถึงเวลานี้
          สมเด็จพะโคะหรือพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ครองสมณเพศจำพรรษาอยู่วัดพะ โคะเป็นที่พึ่งของประชาราษฎร์มีความร่มเย็นเป็นสุข ได้ช่วยการเจ็บไข้ได้ทุกข์ บำรุงสุข เทศนาสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์ประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงพุทธศาสนิกชนได้ ตลอดมา
ตอนนี้ได้รับความกรุณาจากพระอุปัชฌาย์ดำ ติสฺสโร สำนักวัดศิลาลอย อำเภอจะทิ้งพระเป็นผู้เล่าตามนิยายต่อกันมา โดยท่านพระครูวิริยานุรักษ์ วัดตานีสโมสรเป็นผู้บันทึกความดังต่อไปนี้
          ในสมัยสมเด็จเจ้าพะโคะพำนักอยู่วัดพะโคะครั้งนั้นยังมีสามเณรน้อยรูปหนึ่ง เข้าใจว่าคงอาศัยอยู่วัดใดวัดหนึ่งในท้องที่อำเภอหาดใหญ่เวลานี้ สามเณรรูปนี้ได้บวชมาแต่อายุน้อย ๆ ได้ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดมีความขยันหมั่นเพียรก่อแต่การกุศลในพระพุทธ ศาสนาและตั้งจิตอธิษฐานจะขอพบพระศรีอริยะอย่างแรงกล้า อยู่มาคืนหนึ่งมีคนแก่ถือดอกไม้เดินเข้ามาหาแล้วประเคนดอกไม้ส่งให้แล้วบอก ว่า นี่เป็นดอกไม้ทิพย์ไม่รู้จักร่วงโรยพร้อยกับกล่าวว่า พระศรีอริยะโพธิสัตว์นั้นขณะนี้ได้จุติลงมาเกิดในเมืองมนุษย์เพื่อโปรดสัตว์ ในพระพุทธศาสนาสามเณรเจ้าจงถือดอกไม้ทิพย์นี้ออกค้นหาเถิดหากผู้ใดรู้จัก กำเนิดของดอกไม้แล้วผู้นั้นแหละเป็นพระศรีอริยะที่จุติมา เจ้าจงพยายามเที่ยวค้นหาคงจะพบเมื่อกล่าวจบแล้วคนแก่นั้นก็อันตรธานหายไป ทันที
          สมาเณรน้อยมีความปิติยินดีเป็นยิ่งนักวันรุ่งเช้าจึงกราบลาสมภารเจ้าอาวาส ถือดอกไม้ทิพย์เดินออกจากวัดไป สามเณรเดินทางตรากตรำลำบากไปทั่วทุกหนทุกแห่งก็ไม่มีใครทักถามถึงดอกไม้ ทิพย์ที่ตนถืออยู่นั้นเลยแต่สามเณรก็พยายามอดทนต่อความเหนื่อยยากต้องตาก แดดกรำฝนไปเป็นเวลาช้านาน วันหนึ่งต่อมาสามเณรน้อยเดินทางเข้าเขตวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะในเวลาใกล้จะ มืดค่ำเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ พระจันทร์เต็มดวงส่องรัศมีจ้าไปทั่วท้องฟ้าและเป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์ลงทำ สังฆกรรมในอุโบสถ สามเณรถือดอกไม้ทิพย์เดินเข้าไปยืนถือดอกไม้ทิพย์อยู่ริมอุโบสถรอคอยพระสงฆ์ ที่จะลงมาอุโบสถ พอถึงเวลาพระภิกษุทั้งหลายก็เดินทะยอยกันเข้าอุโบสถผ่านหน้าสามเณรไปจนหมด ไม่มีพระภิกษุองค์ใดทักสามเณรเลย เมื่อพระสงฆ์เข้านั่งในอุโบสถเรียบร้อยแล้วสามเณรจึงเดินเข้าไปนมัสการถาม พระสงฆ์เหล่านั้นว่า วันนี้พระมาลงอุโบสถหมดแล้วหรือ พระภิกษุตอบว่า ยังมีสมเด็จอยู่อีกองค์วันนี้ไม่มาลงอุโบสถ สามเณรทราบดังนั้นก็กราบลาพระสงฆ์เหล่านั้นเดินออกจากอุโบสถมุ่งตรงไปยัง กุฏิของสมเด็จเจ้าฯ ทันที
          ครั้นถึงสามเณรก็คลานเข้าไปใกล้ก้มกราบนมัสการท่านอยู่ตรงหน้าสมเด็จเจ้าฯ สมเด็จเจ้าฯ ได้ประสพดอกไม้ในมือสามเณรถืออยู่ จึงถามสามเณรว่า นั่นดอกไม้ทิพย์เป็นดอกไม้เมืองสวรรค์ผู้ใดให้เจ้ามา สามเณรรู้แจ้งใจตามที่นิมิตจึงคลานเข้าไปก้มลงกราบที่ฝ่าเท้าแล้วประเคน ดอกไม้ทิพย์นั้นแก่สมเด็จเจ้าฯ ทันที เมื่อสมเด็จเจ้าฯ รับประเคนดอกไม้ทิพย์จาดสามเณรน้อยแล้วท่านได้สงบอารมณ์อยู่ชั่วครู่มิได้ พูดจาประการใด แล้วลุกขึ้นเรียกสามเณรเดินตรงเข้าไปในกุฏิปิดประตูลงกลอนและเงียบหายไปใน คืนนั้น มิได้มีร่องรอยแต่อย่างใดเหลือไว้ให้พิสูจน์จนเวลาล่วงเลยมาบัดนี้ประมาณสาม ร้อยปีเศษแล้ว
          การหายตัวไปของสมเด็จเจ้าพะโคะครั้งนั้นประชาชนเล่าลือกันว่าท่านได้สำเร็จ สู่สวรรค์ไปเสียแล้วด้วยอำนาจบุญบารมีอภินิหารท่านแรงกล้า ตามที่กล่าวลือกันเช่นนี้เพราะมีเหตุอัศจรรย์ปรากฏขึ้นในคืนนั้นว่าบนอากาศ บริเวณวัดพะโคะ ได้มีดวงไฟโตขนาดเท่าดวงไต้ส่องรัศมีต่าง ๆ เป็นปริมณฑลดังพระจันทร์ทรงกลดลอยวนเวียนรอบบริเวณวัดพะโคะส่องรัศมีจ้าไป ทั่วบริเวณวัดเมื่อดวงไฟดวงนั้นลอยวนเวียนอยู่ครบสามรอบแล้วลอยเคลื่อนไปทาง ทิศอาคเนย์เงียบหายมาจนกระทั่งบัดนี้
          วันรุ่งเช้าประชาชนมาร่วมประชุมกันที่วัดและต่างคนต่างก็เข้าใจว่าสมเด็จ เจ้าฯ ท่านสำเร็จสู่สวรรค์ไปจึงได้พากันพนมมือขึ้นเหนือศรีษะพร้อมกับเปล่งเสียง ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะโล่ไปเสียแล้วเจ้าข้าเอย เมื่อสมเด็จเจ้าพะโคะโล่หายไปจากวัดพะโคะครั้งนั้น สมเด็จเจ้าฯ ท่านได้ทิ้งของสำคัญไว้ให้เป็นที่สักการะบูชาของประชาชนตลอดมาคือ
          ๑. ดวงแก้วที่พระยางูใหญ่ให้ครั้งเป็นทารกอยู่ในเปล ๑ ดวง และสมภารทุกๆ องค์ของวัดพะโคะได้ เก็บรักษาไว้จนถึงบัดนี้ปรากฏว่า แก้วดวงนี้ไม่มีใครกล้านำออกจากบริเวณวัดพะโคะเพราะเกรงจะเกิดภัย
๒. ก่อนที่สมเด็จเจ้าฯ จะโล่หายไปปรากฏว่าท่านได้ขึ้นไปทำสมาธิอยู่บนชะง่อนผาภูเขาบาท ได้เอาเท้าซ้ายเหยียบลงบนลาดผาลึกเป็นรอยเท้าเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน มาจนกระทั่งบัดนี้ (ท่านพระครูวิสัยโสภณวัดช้างให้ได้ไปนมัสการมาแล้ว)
สมัยที่สมเด็จเจ้าพะโคะโล่หายไปจากวัดพะโคะ ตำบลชุมพล อำเภอจะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา ครั้งนั้นได้มีพระภิกษุชรารูปหนึ่งปรากฏตัวขึ้นที่เมืองรัฐไทรบุรีเวลานี้ พระภิกษุรูปนี้เป็นปราชญ์ทางธรรมและเชี่ยวชาญทางอิทธิอภินิหารเป็นยอดเยี่ยม ชาวเมืองไทรบุรีมีความเคารพเลื่อมใสมาก ซึ่งสมัยนั้นคนมลายูในเมืองไทรบุรีนับถือศาสนาพุทธ ต่อมาท่านก็ได้เป็นสมภารเจ้าวัดแห่งหนึ่งในสมัยนั้น
มีเรื่องชวนคิดอยู่ว่า พระภิกษุชรารูปนี้ไม่มีประชาชนคนใดจะทราบได้ว่า ท่านชื่ออย่างไร ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ไหน ก็ไม่มีใครซักถาม จึงพากันขนานนาม เรียกกันว่า " ท่าน ลังกาองค์ดำ " ท่านปกครองวัดด้วยอำนาจธรรมและอภินิหารอย่างยอดเยี่ยม เป็นที่พึ่งทางธรรมปฏิบัติและการเจ็บไข้ได้ทุกข์ของประชาชน ด้วยความเมตตาธรรม ประชาชนเพิ่มความเคารพเลื่อมใสท่านตลอดถึงพระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรีสมัยนั้น และท่านมีความสุขตลอดมา ( ท่านลังกาองค์นี้จะเป็นเจ้าพะโคะใช่หรือไม่ ขอให้อ่านต่อไป )
          เมื่อข้าพเจ้าผู้เขียนยังหนุ่มๆ หรือประมาณ ๔๕ ปีมาแล้ว ได้อ่านหนังสือตำนานเมืองปัตตานี ซึ่งรวบรวมโดยคุณพระศรีบุรีรัฐ ( สิทธิ์ ณ สงขลา ) นายอำเภอชั้นลายครามของอำเภอยะหริ่ง เรียบเรียง มีข้อความตอนหนึ่งว่าสมัยนั้นพระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรีปรารถนาจะหาที่ชัยภูมิดีสร้างเมืองให้ เจ๊ะสิตีน้องสาวครอบครอง เมื่อโหรหาฤกษ์ยามดีได้เวลา ท่านเจ้าเมืองก็เสี่ยงสัตย์อธิฐานปล่อยช้างตัวสำคัญคู่บ้านคู่เมืองออกเดิน ป่าหรือเรียกว่าช้างอุปการ เพื่อหาที่ชัยภูมิดีสร้างเมือง ท่านเจ้าเมืองก็ยกพลบริวารเดินตามหลังช้างนั้นไปเป็นเวลาหลายวัน วันหนึ่งช้างได้เดินไปหยุดอยู่ ณ ที่ป่าแห่งหนึ่ง ( ที่วัดช้างให้เวลานี้ ) แล้วเดินวนเวียนร้องขึ้น ๓ ครั้งพระยาแก้มดำถือเป็นนิมิตที่ดีจะสร้างเมือง ณ ที่ตรงนี้ แต่น้องสาวตรวจดูแล้วไม่ชอบ พี่ชายก็อธิฐานให้ช้างดำเนินหาที่ใหม่ต่อไป ได้เดินรอนแรมหลายวัน เวลาตกเย็นวันหนึ่งก็หยุดพักพลบริวาร น้องสาวถือโอกาสออกจากที่พักเดินเล่น บังเอิญขณะนั้นมีกระจงสีขาวผ่องตัวหนึ่ง วิ่งผ่านหน้านางไปนางอยากจะได้กระจงขาวตัวนั้น จึงชวนพวกพี่เลี้ยงวิ่งไล่ลอมจับกระจงตัวนั้น ได้วิ่งวกไปเวียนมาบนหาดทรายอันขาวสะอาดริมทะเล ( ที่ตำบล กือเซะเวลานี้ ) ทันใดนั้น กระจงก็ได้อันตรธานหายไป นางเจ๊ะสิตีรู้สึกชอบที่ตรงนี้มาก จึงขอให้พี่ชายสร้างเมืองให้
          เมื่อพระยาแก้มดำปลูกสร้างเมืองให้น้องสาว และมอบพลบริวารให้ไว้พอสมควรเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ชื่อเมืองนี้ว่า เมืองปะตานี ( ปัตตานี ) ขณะนั้นพระยาแก้มดำเดินทางกลับมาถึงภูมิประเทศที่ช้างบอกให้ครั้งแรก ก็รู้สึกเสียดายสถานที่ จึงตกลงใจหยุดพักแรมทำการแผ้วถางป่า และปลูกสร้างขึ้นเป็นวัดให้ชื่อว่า วัดช้างให้มาจนบัดนี้ ต่อมาพระยาแก้มดำ ก็ได้มอบถวายวัดช้างให้แก่ท่านลังกาครอบครองอีกวัดหนึ่ง
พระภิกษุชราองค์นี้ท่านอยู่เมืองไทรบุรีเขาเรียกว่าท่านลังกาเมื่อท่านมา อยู่วัดช้างให้ชาวบ้านเรียกว่าท่านช้างให้เป็นเช่นนี้ตลอดมา ขณะที่ท่านลังกาพำนักอยู่ที่วัดในเมืองไทรบุรีวันหนึ่งอุบาสก อุบาสิกา และลูกศิษย์อยู่พร้อมหน้าท่านได้พูดขึ้นในกลางชุมนุมนั้นว่า ถ้าท่านมรณภาพเมื่อใดขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ด้วยและขณะหามศพพักแรมนั้น ณ ที่ใดน้ำเน่าไหลลงสู่พื้นดินที่ตรงนั้นจงเอาเสาไม้แก่นปักหมายไว้ต่อไปข้าง หน้าจะเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ อยู่มาไม่นานท่านก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชราคณะศิษย์ผู้เคารพในตัวท่านก็ได้ จัดการตามที่ท่านสั่งโดยพร้อมเพรียงกันเมื่อทำการฌาปณกิจศพท่านเรียบร้อย แล้วคณะศิษย์ผู้ไปส่งได้ขอแบ่งเอาอัฐิของท่านแต่ส่วนน้อยนำกลับไปทำสถูปที่ วัด ณ เมืองไทรบุรีไว้เป็นที่เคารพบูชาตลอดจนบัดนี้สมเด็จเจ้าพะโคะกับท่านช้างให้ หรือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดนี้สมัยท่านยังมีชีวิตมีชื่อที่ใช้เรียกท่าน หลายชื่อเช่น พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ ท่านลังกา และท่านช้างให้ แต่เมื่อท่านมรณภาพแล้วเรียกเขื่อนหรือสถูปศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุอัฐิของท่าน ว่า "เขื่อนท่านช้างให้" แต่ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้มีการสร้างพระเครื่องต่างองค์ท่านให้ชื่อว่า ท่านช้างให้ แต่ท่านไม่เอาท่านบอกให้ชื่อว่า "หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ดังมีเรื่องกล่าวต่อไปนี้
          ๑. ก่อนที่เขื่อนหรือสถูปจะปรากฏความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นครั้งแรก เล่าต่อๆ กันมาว่ามีเด็กชายลูกชาวบ้านคนหนึ่งพ่อเขาไล่ตี เด็กคนนั้นวิ่หนีเข้าไปในบริเวณวัดช้างให้แล้หายตัวไปซึ่งขณะนั้นเป็นวัด ร้าง เมื่อพ่อของเด็กไล่ตามเข้าไปในวัดก็มิได้เห็นตัวเด็ก เขาได้ค้นหาจนอ่อนใจก็ไม่พบจึงกลับบ้านชวนเพื่อนบ้านช่วยกันค้นหา ขณะที่พวกชาวบ้านผ่านเข้าเขตวัดก็เห็นเด็กนั้นเดินยิ้มเข้ามาหาและหัวเราะ พูดขึ้นว่า พ่อของมันดุร้ายไล่ทุบตีลูกไม่มีความสงสารกูเห็นแล้วอดสงสารไม่ได้จึงเอามัน ไปซ่อนไว้ พวกชาวบ้านก็ตื่นตกงกงันเพราะเด็กนั้นพูดแปลกหูผู้ฟังเป็นเสียงของคนแก่แต่ เด็กพูดต่อไปว่า พวกสูไม่รู้จักกูหรือ กูชื่อท่านเหยียบน้ำทะเลจืดผู้ศักดิ์สิทธิ์เจ้าของเขื่อนนี้ (สถูป) พวกสูจะลองดีก็จงเอาน้ำเกลือใส่อ่างมากูจะทำให้ดู มีชาวบ้านผู้หนึ่งปฏิบัติตามคำสั่งนั้น เด็กชายนั้นก็ยื่นเท้าลงเหยียบน้ำเกลือในอ่างทันทีและบอกให้ชาวบ้านชิมน้ำ เกลือนั้นดู ได้ประจักษ์ว่าน้ำนั้นมีรสจืดเป็นน้ำบ่อเป็นที่อัศจรรย์นัก เด็กนั้นพูดอีกว่า พวกสูยังไม่เชื่อกูก็ให้ก่อไฟขึ้น ชาวบ้านก็ทำตาม ขณะกองไฟลุกโชนเป็นถ่านแดงดีแล้วเด็กประทับทรงท่านเหยียบน้ำทะเลจืดก็กระโดด เข้าไปยืนอยู่ในกลางกองไฟอันร้อนแรง ยิ้มแล้วถามว่าสูเชื่อหรือยัง พ่อของเด็กตกใจเกรงลูกจะเป็นอันตรายจึงก้มลงกราบไหว้ขอโทษเด็กนั้นจึงเดิน ออกจากกองไฟเป็นปกติ
          ๒. ครั้นท่านพระครูวิสัยโสภณ (ท่านอาจารย์ทิม ธมฺมธโร) เข้ามาครองวัดช้างให้ใหม่ๆ ท่านข้องใจเรื่องเขตวัดของเดิมเพราะถามชาวบ้านไม่มีใครรู้ คืนวันหนึ่งท่านฝันว่าพบคนแก่ยืนอยู่กลางลานวัดท่านถามถึงเขตวัดตามความข้อง ใจ คนแก่นั้นบอกว่า ให้ไปถามท่านเหยียบน้ำทะเลจืดในเขื่อน คนแก่จึงนำท่านพระครู ฯ ไปเห็นพระภิกษุเฒ่าเดินออกจากในเขื่อนสามองค์ปรากฏว่า ๑. หลวงพ่อสี ๒. หลวงพ่อทอง ๓. หลวงพ่อจันทร์ องค์หลังสุดถือไม้เท้าใหญ่ ๓ คด เดินยันออกมางกงันเพราะความชรามากกว่าองค์ใดๆ คนแก่จึงบอกว่าองค์นี้แหละ ท่านเหยียบน้ำทะเลจืดท่านจึงเอาแขนกอดคอท่านพระครู ฯ นำเดินชี้เขตวัดเก่าให้ทราบทั้ง ๔ ทิศ ตลอดถึงเนินดินซึ่งเป็นโบสถ์โบราณและบันดาลให้ท่านอาจารย์ฯได้เห็นวัตถุ ต่างๆในหลุมนิมิตซึ่งเป็นของไม่มีค่า เช่น พระพุทธรูปหล่อด้วยเงิน ๑ องค์ เมื่อจะกลับเข้าไปในเขื่อนท่านได้สั่งว่าต้องการอะไรให้บอกแล้วเข้าในเขื่อน หายไป
          "คำว่าเอาอะไรให้บอก คำนี้สำคัญมาก คราวต่อมาโบสถ์ก็สำเร็จพระเครื่องก็ศักดิ์สิทธิ์"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น